Page 109 - kpiebook64008
P. 109

ในการเลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่นอกเหนือจากพรรคเพื่อไทยที่ประกาศส่งผู้สมัครชัดเจน กลุ่มการเมือง
               อื่นๆ มีกลยุทธ์การเชื่อมแบรนด์หรือยี่ห้อของพรรคการเมือง จากการสัมภาษณ์กลุ่มประชารัฐเชียงใหม่ มองว่า
               การเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่นับตั้งแต่อดีต มีการต่อสู้ในเชิงสัญลักษณ์ภายใต้ร่มเงาพรรค
               การเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่ ยุคนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ แต่จุดเปลี่ยนของการเมืองน่าจะมาจากเหตุการณ์ คสช.

               การเชื่อมพรรคการเมืองระดับชาติกับกลุ่มอิสระในพื้นที่จ าเป็นและช่วยส่งเสริมการเลือกตั้ง เพราะพรรคการเมือง
               ในระดับชาติมีความส าคัญทั้งบทบาทในการก าหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนา ดังนั้นเมื่อกลุ่มอิสระเอง
               หากตนเองเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอยู่แล้ว และมีความเชื่อมโยงกับพรรคในทางใดทางหนึ่งก็ควรจะมีการสื่อสาร
               กับพรรคเพื่อขอให้ความเชื่อมโยงเกิดขึ้น


                        ผู้สมัคร อบจ. ของกลุ่มประชารัฐเชียงใหม่มองว่า แม้พื้นที่เชียงใหม่เป็นพื้นที่เสื้อแดงหรือเพื่อไทย ไม่ได้มี
               ความกังวล แม้ถ้าจะประกาศตัวเป็นอิสระก็ไม่ต่างกับกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม จึงเลือกที่จะประกาศตัวว่าเป็นคนฝ่าย
               ไหนไปเลยเพราะสังคมไทยต้องเลือกข้าง ที่ส าคัญประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้ประโยชน์จากรัฐบาลพลังประชารัฐที่มี

               บัตรคนจนและบัตรสวัสดิการ ดังนั้น เชื่อว่าประชาชนจ านวนหนึ่งไม่ได้ยึดติดหรือจดจ านโยบายของพรรคไทย
               รักไทยในอดีตอีกต่อไป


                        การใช้สื่อออนไลน์ (Social Media)

                        การเลือกตั้งนายก อบจ.และ ส.อบจ.ชียงใหม่ครั้งนี้ พบว่าการใช้สื่อออนไลน์ที่เป็นที่นิยมเพื่อสนับสนุน

               การประชาสัมพันธ์มากที่สุด คือ เฟสบุ๊ค (Facebook) จากการส ารวจข้อมูลเฟสบุ๊คเพจของผู้สมัครนายก อบจ.
               พบว่ามีผู้สมัครนายก อบจ. 4 คนที่มีการใช้เฟสบุ๊คเป็นเครื่องมือในการสื่อสารหาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่















                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   88
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114