Page 111 - kpiebook64008
P. 111
ความโน้มเอียงในความนิยมของการเลือกตั้งระดับประเทศที่ส่งผลต่อผู้สมัครในนามพรรคการเมืองในแต่ละจังหวัด
แต่ในการเลือกตั้งท้องถิ่น การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งจะเชื่อมโยงกับตัวบุคคลและปัญหาเฉพาะในระดับพื้นที่ ดังนั้น
การหาเสียงเลือกตั้งต้องอาศัยการพบปะ การลงเดินในพื้นที่ชุมชน การร่วมงานทางวัฒนธรรมของชุมชน และ
การใช้เครือข่ายผู้น าที่เหมาะกับบริบทพื้นที่และความเป็นชุมชนของจังหวัดเชียงใหม่
ในขณะที่ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้สมัคร ส.อบจ. ของทั้งพรรคเพื่อไทยและกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมที่
ลงสมัครในเขตอ าเภอที่อยู่รอบนอกห่างไกลจนถึงพื้นที่ภูเขาต่างมองว่า สื่อออนไลน์ไม่เหมาะกับการใช้เพื่อหาเสียง
ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นที่ชนบท เพราะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่ตนเองเป็น
เกษตรกร และเป็นคนหาเช้ากินค่ า ไม่มีอินเตอร์เนตหรือเครื่องมือสื่อสารเพื่อมาใช้ในทางการเมือง ดังนั้น การเป็น
ตัวแทนหรือผู้สมัคร ส.อบจ.ของพื้นที่รอบนอกต้องหาเสียงด้วยการลงพื้นที่พบปะชุมชน ผู้น า และเข้าใจสภาพ
ปัญหาของพื้นที่อย่างแท้จริง และต้องใช้เวลานานเพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่ประชาชนไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในเมืองหรือ
พื้นที่เดียวกัน วิธีการในการหาเสียงเลือกตั้งจึงแตกต่างออกไปจากเขตอ าเภอเมืองหรืออ าเภอรอบเมือง แต่ช่องทาง
หนึ่งที่ใช้ได้ดี คือ เสียงตามสาย ซึ่งประเด็นนี้มีความน่าสนใจที่เป็นสื่อที่ปรากฏในชุมชนหมู่บ้าน ต าบลแทบทุกที่
และผู้ส่งสารส่วนใหญ่ คือ ผู้น า เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ก านัน หรือนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถให้ข้อมูล
ข่าวสารในลักษณะทั้งการชี้น าและข้อเท็จจริงที่ปรากฏเสียงทุกเช้าและเย็นได้ ดังนั้น ผู้สมัคร ส.อบจ.จึงเชื่อว่า
นอกจากการลงพื้นที่แล้ว ผู้น าชุมชน หัวคะแนนเป็นกลไกส าคัญในการสร้างโอกาสในการชนะการเลือกตั้ง
พบว่าภายหลังจากการประกาศผลการชนะเลือกตั้งของนายพิชัย จากพรรคเพื่อไทย ยอดตัวเลขการคลิก
ไลค์ (Like) ในโพสต่างๆ ของนายพิชัยเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว และเพจเฟสบุ๊คยังคงมีการใช้อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อ
ประชาสัมพันธ์ผลงานในฐานะนายก อบจ.มาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ผู้สมัครนายก อบจ. อีก 3 คน ภายหลังการ
ประกาศผลการเลือกตั้ง มีการโพสขอบคุณผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ในเพจเฟสบุ๊คที่
ใช้ดป็นช่องทางสื่อสารหลักในช่วงเวลาการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าสื่อออนไลน์ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวแต่การ
พบปะผู้น า และการลงพื้นที่ของอดีตผู้สมัคร นายก อบจ. ยังคงมีบ้างในวาระโอกาสของงานของชุมชนบางแห่ง
ในส่วนของผู้สมัคร ส.อบจ.เน้นการหาเสียงด้วยการลงพื้นที่ และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นการน าเสนอภาพการหา
เสียงและเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางเดียวมากกว่าการใช้เพื่อการสื่อสารสองทาง
โดยพื้นฐานของการใช้สื่อออนไลน์ในการหาเสียงพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองจะมีทีมประชาสัมพันธ์
ที่คอยเป็นผู้ดูแลสื่อ (Admin Page) ที่คอยโพสข้อมูล รูปภาพ ถ่ายทอดสด (Live) มากกว่าตัวผู้สมัครที่จะมาดูแล
ด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้สมัคร นายก อบจ. แต่ ส.อบจ.ส่วนมากจะมีทีมงานและร่วมดูแลสื่อด้วยตนเอง นอกจากนั้น
สื่อออนไลน์อื่นที่ถูกน ามาใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้คือ ไลน์แชต (Line Chat) ถือเป็นเครื่องมือในการสื่อสารมากกว่า
การใช้ประโยชน์ในการเลือกตั้ง เป็นช่องทางผู้สมัครใช้ติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายการเมือง ผู้สนับสนุนในพื้นที่
ช่องทางของไลน์แชตกลายเป็นเครื่องมือ ในขณะที่สื่อออนไลน์อื่น ๆ ที่มีอิทธิพลในการสร้างบรรยากาศการเลือกตั้ง
ทั่วไป พ.ศ. 2562 เช่น อินสตาแกรม (Instagram) หรือ ทวิตเตอร์ (twitter) ไม่ปรากฎการน ามาใช้ให้เห็นในการ
เลือกตั้งระดับท้องถิ่น ยิ่งตอกย้ าถึงความแตกต่างของกลยุทธ์และวิธีการในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเพื่อเข้าถึง
เป้าหมายของกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงของกลุ่มการเมืองและพรรคการเมือง
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 90