Page 126 - kpiebook64008
P. 126

ขั้นตอนกฎหมายกับเงื่อนไขเวลาในการรับรองผลการเลือกตั้ง พบว่าเป็นเงื่อนไขส าคัญของการจัดการเลือกตั้งของ
               ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในระดับจังหวัด การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน การพิจารณาที่ละเอียดอ่อน

               ไม่สามารถกระท าได้ภายใต้เงื่อนไขเวลาที่ก าหนด ที่ส่งผลต่อการลักลั่นที่อาจสร้างความเสียหายและฟ้องร้องได้หากมี
               การด าเนินการถึงชั้นศาลและต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งใด ๆ การพิจารณา
               ปรับเปลี่ยนกฎหมายและแนวทางการจัดการเลือกตั้งที่ยืดหยุ่น เอื้ออ านวยต่อการปฏิบัติการจริงในพื้นที่มีความจ าเป็น
               ที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งด าเนินการเพื่อไม่ให้เกิดความไม่ชอบธรรมและความลักลั่นของผลประโยชน์

               ทางการเมืองที่กฎหมายหรือระเบียบบางประการอาจมีผลเอื้อต่อกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองใดๆ ได้

                        จากข้อมูลบทที่ 4 สรุปได้ว่า ในการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ ยังคงมีการใช้วิธีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
               แบบเดิมที่ไม่เน้นการใช้สื่อออนไลน์ เพราะพฤติกรรมของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความแตกต่างออกไป
               จากการเลือกตั้งทั่วไประดับชาติ ท าให้กลุ่มการเมืองในท้องถิ่นและพรรคการเมืองเน้นการใช้ป้ายหาเสียง แผ่นพับ
               แนะน าตัวเอง การลงพื้นที่เพื่อพบปะ พูดคุยกับประชาชนเพราะบริบทความเป็นท้องถิ่นที่เชื่อมกับนักการเมือง

               ท้องถิ่น ตามเวทีปราศรัยกลับมีความส าคัญมากขึ้นในการหาเสียงเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเนื่องจากบทบาทของพรรค
               การเมืองเข้ามามีอิทธิพลชัดเจนในการเลือกตั้ง ท าให้การเชื่อมโยงบุคคลหรือนโยบายของพรรคการเมืองจะสื่อสาร
               ได้มาก กับการปราศรัยที่ท าให้กลุ่มการเมืองในท้องถิ่นที่แข่งขันต้องปรับกลยุทธ์ตามแนวนโยบายในการหาเสียง

               ต่างๆ ยังคงเป็นนโยบายที่เน้นการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ยึดโยงกับพื้นที่ เน้นลักษณะเฉพาะของความเป็น
               ท้องถิ่นนิยมของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยประเด็นส าคัญที่ยังคงปรากฎในช่วงเวลาของการหาเสียงเลือกตั้ง
               ไม่ว่าจะเป็น การต่อสู้ของตระกูลการเมือง การซื้อเสียง ระบบหัวคะแนนทั้งในบทบาทผู้น าที่เป็นทางการและไม่
               เป็นทางการ ยังคงเกิดขึ้นในฐานะองค์ประกอบส าคัญของการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น หากแต่
               ความหมายของเงินซื้อเสียงและหัวคะแนนเริ่มเปลี่ยนแปลงไปที่ท าให้ประชาชนสร้างควาหมายใหม่ของเงินซื้อเสียง

               ในฐานะค่าตอบแทน ที่เหมือนจะชอบธรรมมากขึ้นแม้จะผิดกฎหมายก็ตาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบ
               ประกาศ ค าสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งและความผิดในการเลือกตั้งที่บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ
               ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง กระทรวงมหาดไทย และ ส านักงาน อบจ. ที่ต้องท างานร่วมกันในการท าข้อมูลและ

               จัดการเลือกตั้ง ปัญหาส าคัญที่พบในการเลือกตั้ง คือ เรื่องของความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
               สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และที่ส าคัญคือ การต่อสู้แข่งขันกันอย่างรุนแรงจนน าไปสู่
               การกระท าที่ผิดกฎหมาย เช่น การซื้อเสียง การว่ากล่าวให้ร้าย และการท าลายทรัพย์สิน แต่ด้วยงบประมาณ เวลา
               และบุคลากรที่จ ากัด การด าเนินการในการจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายและมีประสิทธิภาพย่อม

               เกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งประเด็นนี้ควรน าไปสู่ข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพด้วยการ
               สนับสนุนเครื่องมือและทรัพยากรให้กับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง















                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   105
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131