Page 127 - kpiebook64008
P. 127

บทที่ 5


                         การน าเสนอข้อมูลแบบส ารวจปัจจัยและพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
                นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563


                        ในบทนี้ ผู้วิจัยน าเสนอข้อมูลวิจัยเชิงส ารวจจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบส ารวจเชิงปริมาณที่น ามา
               วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ โดยการน าเสนอจะน าเสนอเป็นตารางค่าร้อยละ ประกอบกับแผนภูมิรูปภาพ ทั้งกลุ่ม
               นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จ านวน 400 ตัวอย่าง และกลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่
               จ านวน 236 โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตอ าเภอเมืองและอ าเภอรอบนอกที่มีการแข่งขันทางการเมืองในพื้นที่จาก

               ฐานข้อมูลการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยข้อมูลที่จะน าเสนอในบทนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวข้องกับ
               พฤติกรรมและปัจจัยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 จากการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 20 ธันวาคม
               พ.ศ. 2563 สะท้อนภูมิรัฐศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างดี การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองกับ

               พรรคการเมืองทั้งผู้สมัครนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. สะท้อนนัยยะส าคัญทางการเมืองของจังหวัดเชียงใหม่
               ที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นอื่นๆ ที่ตามมาไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วน
               ต าบล (อบต.) และเป็นทิศทางของการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อสร้างความพร้อมในการเลือกตั้งทั่วไปที่อาจจะเกิด
               ไม่ตามวาระ แต่ตามสถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนแปลง

                        อย่างไรก็ตาม การส ารวจความคิดเห็นของประชาชนและปัจจัยในลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีส่วนเกี่ยวข้อง

               กับบทบาทของ อบจ. เพื่อให้เห็นความเข้าใจของประชาชนที่มีการเสนอความคิดเห็นเชื่อมโยงกับความคาดหวัง
               ในบทบาทหน้าที่ อบจ.ที่พึงมี หากสรุปประเด็นของบทบาทหน้าที่ อบจ. ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
               พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ.ก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

               จึงสามารถสรุปได้ดังนี้ (ช านาญ จันทร์เรือง, 2563)
                        1. อบจ. มีหน้าที่สนับสนุนสภาต าบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น เช่น การอุดหนุน

                           งบประมาณให้ อบต./เทศบาลน าไปใช้จัดบริการสาธารณะ เช่น ถนน สะพาน โดยเฉพาะ หน่วยการ
                           ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย ในหลักการช่วยลดความเหลื่อมล้ าการพัฒนาในพื้นที่จังหวัด
                           แต่หากมองในทางการเมืองถือเป็นการสร้างกลไกอุปถัมภ์ทางการเมืองระหว่าง อบจ. กับหน่วยการ

                           ปกครองส่วนท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่นในระดับเทศบาลกับ อบต. การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่มี
                           ผลต่อการพัฒนาพื้นที่ อบต.หรือเทศบาลขนาดเล็กผ่านระบบงบประมาณ เป็นกระบวนการสร้างการ
                           พึ่งพิงเชิงนโยบายการเมืองได้เช่นกัน
                        2. อบจ. ท าหน้าเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งเอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ

                           รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น สามารถเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ เช่น อบจ.
                           เชียงใหม่มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบ ารุง
                           องค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักในโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 หรือ การประกาศของ อบจ.
                           เรื่อง การน ามูลฝอยเข้าจัดการในศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร. ขององค์การบริหารส่วน

                           จังหวัดเชียงใหม่ อ าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2562





                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   106
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132