Page 128 - kpiebook64008
P. 128

3. อบจ.อาจมอบให้เอกชนกระท ากิจการ ซึ่งอยู่ในอ านาจหน้าที่ของ อบจ.และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
                           ค่าบริการหรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทน อบจ.ได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การ

                           บริหารส่วนจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน
                        4. การด าเนินกิจการของ อบจ.ที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์อาจท าได้โดยการตราเป็นข้อบัญญัติ ทั้งนี้
                           ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยก าหนด
                        5. การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด เช่น ปัจจุบันมีการจัดซื้อกล้องวงจรปิดติดตั้ง

                           ตามจุดส าคัญต่างๆ หน้าที่นี้โดยทางปฏิบัติจึงท าเพียงสนับสนุนวัสดุครุภัณฑ์ให้แก่ต ารวจ
                        6. การให้บริการแก่เอกชน  ส่วนราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                           อื่น เช่น หอประชุมของ อบจ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากบริการเอกชนแล้ว ยังบริการแก่หน่วยงาน
                           ของราชการส่วนภูมิภาค โดยเก็บค่าธรรมเนียมด้วย แต่อัตราค่าธรรมเนียมน้อยกว่าเอกชน

                        “มาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               พ.ศ.2542 ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับอ านาจหน้าที่ของ อบจ.ได้เริ่มต้นด้วยค าว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 16” (มาตรา 16
               เกี่ยวกับอ านาจหน้าที่เทศบาล และ อบต.) นั่นหมายความว่า กรณีกฎหมายก าหนดอ านาจหน้าที่ อบจ.เรื่องใดซ้ า
               กับเทศบาล หรือ อบต. ก็ให้เทศบาล หรือ อบต.แห่งนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการด าเนินการก่อน” (ช านาญ

               จันทร์เรือง, 2563)
                        บทบาทหน้าที่ของ อบจ. ซึ่งอิงกับกฎหมายทั้งในระดับรัฐธรรมนูญและกฎหมายระดับอื่นๆ มีผลท าให้

               อ านาจหน้าที่ของ อบจ. ในทางปฏิบัติการยังมีค่อนข้างจ ากัดและพื้นที่ที่ซ้อนทับกับหน่วยราชการอื่นๆ ซึ่งมีผล
               ท าให้การบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ไม่สามารถด าเนินการได้ตามขอบเขตอ านาจหน้าที่ตามกฎหมาย
               ซึ่งประเด็นส าคัญที่น่าสนใจ คือ จากข้อมูลภาพรวมของประชาชนพบว่า ประชาชนมีการติดตามข้อมูลทางการเมือง

               ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นและบทบาททางการเมืองที่พร้อมจะมีส่วนร่วมและแสดงออก
               ทางการเมือง เห็นได้จากการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2562 กว่าร้อยละ 75
               ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ในมิติของกฎหมายและหลักเกณฑ์และบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายขององค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นนั้นประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ที่ส่งผลต่อข้อขัดแย้งในพื้นที่ ดังนั้น การส ารวจความรู้ ความ
               เข้าใจ ตลอดจนการศึกษาพฤติกรรมในการเลือกตั้ง อบจ. จึงเป็นข้อมูลส าคัญในการน ามาสู่การท าความเข้าใจผล

               คะแนนเลือกตั้งเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างพื้นที่ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นต่อไป





















                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   107
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133