Page 23 - kpiebook64007
P. 23

วิธีกำรศึกษำวิจัย


                              การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษากรณีเดียวแบบองค์รวม (Holistic Single Case
                       Study) โดยเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  เพื่อด าเนินการตาม
                       วัตถุประสงค์การวิจัย คณะผู้วิจัยก าหนดให้จังหวัดขอนแก่นเป็นระบบขอบเขตจ าเพาะ (Bounded
                       System) ในการวิจัย และมุ่งศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภา

                       องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2563

                              ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง

                              ประชากรส าหรับการวิจัยครั้งนี้คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งในการ
                       เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                       ขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2563

                              ส าหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                       เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วน

                       จังหวัดขอนแก่น อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ผู้ใกล้ชิดกับนักศึกษาเมือง
                       ท้องถิ่น ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักเหล่านี้ด้วยวิธีการเลือกแบบ
                       เจาะจง โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีลักษณะเป็นผู้ให้ข้อมูลส าคัญ (Key Informant) กล่าวคือ มี

                       ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองและการเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น และติดตาม
                       และรับรู้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอด

                              ส าหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยก าหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการก าหนดกลุ่มตัวอย่างแบบ
                       หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในเบื้องต้นผู้วิจัยได้ก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจ านวน
                       700 คน จากประชากรในจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น 1,802,872 คน ซึ่งมีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับร้อย

                       ละ 99 และค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับร้อยละ 5 จากนั้นผู้วิจัยได้แบ่งพื้นที่จังหวัดขอนแก่นออกเป็น
                       5 กลุ่มพื้นที่ (Cluster) ตามที่ตั้งและจ านวนประชากร และได้ก าหนดโควตาจ านวนกลุ่มตัวอย่างในแต่
                       ละกลุ่มพื้นที่ตามสัดส่วนจ านวนประชากร ดังตารางที่ 1



















                            โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น   6
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28