Page 21 - kpiebook64007
P. 21
จัดการเลือกตั้งสภาสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดย
ก าหนดให้มีการรับสมัครเลือกตั้งในระหว่างวันที่ 2-6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และวันเลือกตั้งคือวันที่
20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2563ข) มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
และแผนการจัดการเลือกตั้งดังกล่าวนี้ได้รับความสนใจจากสาธารณชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะ
เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกหลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 แล้ว ผลการเลือกตั้งยังเป็น
ตัวสะท้อนการเมืองในระดับชาติด้วย (“อย่ามองข้ามเรื่องใกล้ตัว! โหรมโรงเลือกตั้ง ‘อบจ.’”, 2563)
จังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน วงวิชาการ และประชาชน
โดยทั่วไปมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง การศึกษา
เศรษฐกิจ ฯลฯ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวเฉพาะการเลือกตั้งและการเมืองทั้งในระดับชาติ
และระดับท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่นก็ได้รับความสนใจและมีการศึกษาวิจัยมาโดยตลอดเช่นกัน (ดู ศิวัช
ศรีโภคางกุล, 2563; สมภพ วรวิวัฒน์วงศ์ และศิวัช ศรีโภคางกุล, 2563)
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทส าคัญในการ
ให้บริการสาธารณะและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดขอนแก่น ก่อนการรัฐประหาร พ.ศ.
2557 องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัดขอนแก่นครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2555 โดยเป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใน
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในวันที่
วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ฉะนั้น ค าสั่ง คสช. ที่ 1/2557 จึงท าให้ไม่มีการเลือกตั้งที่ควรจะเกิดขึ้น
ในปี พ.ศ. 2559 และเป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นมีนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัดขอนแก่นคนเดิมและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นชุดเดิมเป็นเวลานานถึง 8
ปี ด้วยความที่ห่างหายจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไปนานถึง 8
ปี เมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2563 กลุ่มการเมืองต่าง ๆ และประชาชนในจังหวัดขอนแก่น
จึงมีความตื่นตัวอย่างมาก (“เลือกตั้งท้องถิ่นขอนแก่นคึกคัก ‘พงษ์ศักดิ์’ ชิงเก้าอี้นายก อบจ. เอกราช
ส่งลูกชายลง สจ.เขต 7”, 2563) ดังจะเห็นได้จากการที่จังหวัดขอนแก่นมีจ านวนผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดมากที่สุดในประเทศ คือ 10 และ 178 คนตามล าดับ (“ขอนแก่นมีผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก-ส.
อบจ.มากที่สุดในประเทศ”, 2563)
การวิจัยนี้มุ่งตอบค าถามการวิจัยที่ว่าบรรยากาศทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองของ
ผู้สมัคร พฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2563 เป็น
อย่างไร ผลที่ได้จากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจบริบทและต่อการพัฒนาการเลือกตั้ง
ระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นหัวใจส าคัญของการพัฒนาการเมืองการปกครองตามหลักประชาธิปไตยต่อไป
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 4