Page 19 - kpiebook64007
P. 19

เข้ามาท าหน้าที่บริหารราชการในท้องถิ่นนั้น โดยมีงบประมาณของตนเอง และมีอิสระในการบริหาร
                       ก าหนดนโยบายและบริหารงานตามที่กฎหมายก าหนดไว้

                              ประเทศไทยได้รื้อฟื้นและด าเนินการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินโดยประยุกต์ใช้แนวคิด

                       การปกครองตนเองและการกระจายอ านาจมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2530  นับตั้งแต่ พ.ศ. 2537
                       เรื่อยมาจนถึงต้นทศวรรษ 2540 มีการประกาศใช้กฎหมายหลายฉบับที่นับเป็นหมุดหมายหรือก้าว
                       กระโดดส าคัญในการปกครองท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติสภาต าบลและองค์การบริหารส่วน
                       ต าบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติก านดแผน

                       และขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เป็นต้น  กฎหมาย
                       เหล่านี้และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้ก าหนดก าหนดบทบาทหน้าที่ อ านาจทางการบริหารและนิติบัญญัติ
                       และแนวทางการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อันได้แก่

                       องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนต าบล ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการ
                       ก าหนดนโยบายสาธารณะและจัดท าบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ

                              การให้และส่งมอบบริการสาธารณะแก่ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นถือเป็นหัวใจส าคัญของ
                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ในประเทศไทย โดยปัจจุบันรัฐบาลได้ถ่ายโอนอ านาจหน้าที่ให้แก่องค์กร
                       ปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ จ านวน 262 ภารกิจ (ส านักงานคณะกรรมการ

                       การกระจายอ านาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, 2556) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คือ
                       หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นระดับบน (upper tier) ที่มีพื้นที่รับผิดชอบเท่ากับเขตจังหวัด มี
                       ฐานะเป็นนิติบุคคลและราชการส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                       พ.ศ. 2540 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และมีฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ. 2552
                       พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ส่งผลให้มีการกระจายอ านาจสู่องค์กรประชาชนในระดับจังหวัดอย่างมาก

                       องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ส าคัญหลายประการ นับตั้งแต่
                       การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง
                       (lower tier) ไปจนถึงการบ ารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ

                       ท้องถิ่น

                              เมื่อเกิดการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                       (คสช.) การกระจายอ านาจลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้หยุดชะงักลง  ประกาศหัวหน้า คสช.ที่
                       85/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
                       เป็นการชั่วคราว ท าให้สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ท างานครบก าหนดวาระต้องสิ้นสุด

                       การท าหน้าที่และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่ง
                       ประกาศดังกล่าวยังระบุคุณสมบัติของสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ว่า ต้อง
                       มีข้าราชการหรืออดีตข้าราชการระดับซี 8 หรือข้าราชการระดับช านาญการพิเศษขึ้นไปเป็นจ านวน 2






                            โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น   2
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24