Page 11 - kpiebook63032
P. 11

10       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








                      1.3   ผู้สมัครรับเลือกตั้ง นักการเมือง และพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ก่อเกิดผู้สมัคร

                            และพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นเป็นจำานวนมาก รวมถึงก็ยังคงมีนักการเมืองเก่าอยู่ด้วย
                            ซึ่งต่างมีอุดมการณ์ชัดเจนในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นจึงต้องธำารงและรักษาอุดมการณ์

                            ประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่จะส่งผลเสียต่อประเทศ ยึดถือ
                            ผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนอย่างเหมาะสม

                      1.4   ประชาชน มีความตื่นตัวทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจด้วยปัจจัยที่แวดล้อมนั้น

                            มีการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อท่าทีและความรู้สึกของประชาชน ดังนั้น ประชาชน
                            จึงต้องมีการติดตามข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องจากส่วนราชการ ศึกษาแนวทางนโยบาย

                            เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของพรรคการเมืองการเมืองที่จะนำามาสู่การตัดสินใจ
                            เลือกตั้ง ซึ่งควรที่จะต้องคำานึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม เพราะจะส่งผลระยะยาว

                            แก่ตัวประชาชนเอง





                      2. ข้อเสนอแนะในการทำาวิจัยต่อไป


                      2.1   จากการวิจัยครั้งนี้ซึ่งพบว่า กฎหมายและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ใน
                            ห้วงระยะเวลาของการเลือกตั้ง เป็นบัญญัติขึ้นเพื่อรองรับการเลือกตั้งในยุคเปลี่ยน

                            ผ่านของคณะรัฐประหารโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจาก
                            ภาคประชาสังคมในการแสดงความคิดเห็นต่อรายละเอียดดังกล่าว โดยถูกแปรสภาพ

                            มาเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการและกระบวนการให้ประชาชนเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งทำาให้เกิดอุปสรรคใน
                            การนำาไปปฏิบัติเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของการปฏิบัติตามที่ถูกต้อง เกิดปัญหาในการรับรู้

                            ความเข้าใจของประชาชน ทั้งกระบวนการ ดังนั้น จึงควรศึกษาเชิงลึกถึงภาวะการรับรู้
                            ความต้องการการรับรู้และความคาดหวังภายใต้เงื่อนไขอำานาจแฝงต่อไป


                      2.2   ภูมิหลังทางการเมืองของจังหวัดสระแก้วที่ผู้มากบารมีซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองมาเป็น
                            ระยะเวลายาวนาน โดยมีความสัมพันธ์กับการเมืองระดับชาติ และการเมืองระดับท้องถิ่น

                            แต่ในการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ เกิดปรากฏการณ์การแยกขั้วอำานาจ
                            ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อมิติทางการเมืองแบบองค์รวมของจังหวัดสระแก้ว ทั้งใน

                            เชิงฐานอำานาจบารมี ตระกูลการเมือง ดังนั้น ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาการรักษา
                            ฐานอำานาจ และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างสถาบันการเมืองแบบครอบครัว และสภาวการณ์

                            ที่เปลี่ยนแปลงไปที่มีอิทธิพลต่อจังหวัดสระแก้วภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ.2562
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16