Page 6 - kpiebook63032
P. 6
5
ซึ่งอุดมการณ์ดังกล่าวนี้สอดคล้องกับทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไป จนต้องตัดสินใจย้ายขั้วอำานาจที่ตนสังกัด
และเป็นรอยร้าวลึกสำาหรับตระกูลการเมืองที่มากบารมี โดยปัจจัยที่ทำาให้ตัดสินใจอีกประการหนึ่ง
คือ ผู้สมัครมองว่าพรรคที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาใหม่ มีอำานาจมากในเชิงของการที่จะจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต
ซึ่งหมายความว่าการย้ายพรรคครั้งนี้ ยังเป็นการย้ายเพื่อรักษาผลประโยชน์บางอย่าง อาทิ การรักษา
ผลประโยชน์ทางการเมืองที่จะตกสู่จังหวัดสระแก้วในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล รวมถึง
การรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน โดยจากผลการเลือกตั้ง พบว่า คะแนนของผู้สมัคร ส.ส.จังหวัด
สระแก้ว ในเขตเลือกตั้งที่ 1 นายฐานิสร์ เทียนทอง พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย
และเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมเป็นผู้ได้รับคะแนนมากที่สุด รองลงมาคือนายสนธิเดช เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
ซึ่งเป็นหลานชายอีกคนหนึ่งของนักการเมืองผู้มากบารมี ในเขตเลือกตั้งที่ 2 นางสาวตรีนุช เทียนทอง
พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมเป็นผู้ได้รับคะแนนมากที่สุด
รองลงมาคือ พ.ต.อ.พายัพ ทองชื่น พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระแก้ว และเป็น
ผู้ใกล้ชิดกับนักการเมืองผู้มากบารมี สำาหรับเขตเลือกตั้งที่ 3 นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ พรรคพลังประชารัฐ
ทำาธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และเป็นผู้บริหารตลาดเดชไทย (โรงเกลือ) ซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
ควบตำาแหน่งรองประธานสภาเทศบาลตำาบลอรัญประเทศ และยังเคยเป็นสมาชิกองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้ได้รับคะแนนมากที่สุด รองลงมาคือ นายสรวงศ์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
บุตรชายของนักการเมืองผู้มากบารมี และเป็นอดีต ส.ส.เจ้าของพื้นที่เดิม เมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้ง
ส.ส.จังหวัดสระแก้ว ทั้ง 3 เขต ชัยชนะเป็นของพรรคพลังประชารัฐทั้งหมด ในขณะที่พรรคเพื่อไทยที่อยู่
ภายใต้การสนับสนุนของนักการเมืองผู้มากบารมีได้คะแนนมาเป็นอันดับ 2 ทั้ง 3 เขต สะท้อนให้เห็นถึง
การเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมืองของจังหวัดสระแก้วได้อย่างชัดเจน
2. พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินสำาหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ มีความเกี่ยวข้อง
กับประเด็นการใช้จ่ายที่สามารถจำาแนกรายละเอียดออกเป็นสองส่วน คือ การสนับสนุนจากพรรคการเมือง
และการใช้เงินทุนส่วนตัวของผู้สมัคร โดยการเงินจากพรรคการเมือง พบว่า พรรคการเมืองที่เป็น
พรรคการเมืองใหม่ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรก พรรคการเมืองจะจัดสรรงบประมาณ
ลงมาแก่ตัวผู้สมัครเพื่อดำาเนินการเป็นส่วนของค่าลงสมัครรับเลือกตั้งกับทาง กกต. และเพื่อจ่ายในส่วนอื่นๆ
จะได้รับจัดสรรมาไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายจริง ทำาให้ผู้สมัครต้องใช้เงินทุนส่วนตัวลง โดยมักจะนำาเงิน
ที่มีอยู่ใช้จ่ายเป็นค่าดูแลทีมงานช่วยหาเสียงเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่พรรคการเมืองที่มีชื่อเสียงและ
มีทุนทรัพย์เพียงพอสำาหรับจัดสรรให้แก่ผู้ลงสมัครนั้นก็ได้สนับสนุนเงินแก่ผู้สมัครเป็นจำานวนเงินที่มากกว่า
พรรคเล็กได้รับเป็นจำานวนหลายเท่าตัว แต่ก็พบว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากพรรคนั้นก็ไม่เพียงพอ
ต่อการใช้จ่ายเช่นเดียวกัน และต้องใช้เงินทุนส่วนตัวในการใช้จ่ายเป็นค่าดำาเนินการด้านอื่นๆ ซึ่งมีทั้งส่วนที่
เป็นรายจ่ายประจำา เช่น ค่าจ้างด้านธุรการประจำาสาขา ค่าจ้างผู้ช่วยหาเสียง เป็นต้น ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า
พรรคการเมืองมีการสนับสนุนงบประมาณจากทางพรรคให้ผู้สมัครแล้ว ในอีกทางหนึ่งผู้สมัครเองต้องมี
ทุนทรัพย์ส่วนตัวที่จะต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงและค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องอื่นๆ อยู่ด้วย จึงนับว่า