Page 9 - kpiebook63032
P. 9

8       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








                      1)   ปัจจัยจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันที่ประเทศไทยถูกปกครองโดยคณะรักษา

                            ความสงบแห่งชาติ ซึ่งเข้ามาบริหารประเทศผ่านการรัฐประหาร รัฐบาลซึ่งมีผู้นำา
                            และคณะรัฐมนตรีที่ส่วนใหญ่เป็นนายทหาร ในระยะแรกประชาชนอาจเห็นด้วยเพื่อให้

                            บ้านเมืองสงบ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปทำาให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายในแนวทาง
                            การบริหารบ้านเมืองที่ไม่ได้ส่งผลในระยะยาวในหลายด้าน เช่น การบริหารงานเศรษฐกิจ

                            ที่มีปัญหา การแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกตำ่า ซึ่งทำาให้ประชาชนต้องการ
                            จะเลือกตั้งเพื่อให้ได้รัฐบาลใหม่มาแก้ไขปัญหา

                      2)   ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมือง เนื่องจากจังหวัดสระแก้วมีกลุ่มการเมือง

                            ที่ได้ตั้งมั่นทางอิทธิพลและบารมีมาอย่างยาวนาน โดยมีชื่อเรียกว่า “บ้านใหญ่สระแก้ว”
                            แต่เดิมนั้นกลุ่มการเมืองตระกูลดังกล่าวนั้นถือเป็นการถ่ายทอดและสั่งสมบารมีทางการเมือง

                            โดยการสนับสนุนบุคคลภายในตระกูล ทำาให้จังหวัดสระแก้วก่อนหน้าที่มีสมาชิกสภา
                            ผู้แทนราษฎรที่มีได้จำานวน 3 คน เป็นนักการเมืองจากตระกูลเดียวกันทั้งหมด แต่ในการเลือกตั้ง

                            สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรครั้งนี้มีการแยกตัวออกมาจากตระกูลของ 2 นักการเมืองที่
                            เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดิม ถือเป็นการแยกขั้วอำานาจทางการเมือง

                            อย่างชัดเจน เพราะพรรคการเมืองที่เข้าร่วมนั้นถือเป็นฝ่ายตรงข้ามทางอุดมการณ์ทาง
                            การเมืองกับพรรคเดิมของตระกูลตน ทำาให้ประชาชนเกิดความสับสนในการแยกตัวออก

                            จากพรรคเดิมและตระกูล ทำาให้ประชาชนให้ความสนใจและตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น
                            ซึ่งส่วนใหญ่แล้วฐานการเมืองของนักการเมืองที่แยกตัวออกมามีฐานการเมืองเป็นของ

                            ตนเองอยู่ ทำาให้ผู้มากบารมีของตระกูลต้องส่งตัวแทนลงสมัครและช่วยหาเสียงด้วยตัวเอง
                            ประชาชนจึงมีการแสดงออกทางการเมืองที่มากขึ้น


                      3)   ปัจจัยด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                            ฉบับที่ 20 รวมถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีการกำาหนดกติกา

                            การเลือกตั้งขึ้นใหม่ในรายละเอียดที่แตกต่างออกไปจากเดิม อาทิ การมีบัตรเลือกตั้ง
                            เพียงใบเดียวซึ่งต้องเลือกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตและพรรคการเมือง

                            ไปด้วยในคราวเดียวกัน ซึ่งหากเขตเลือกตั้งใดไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
                            ราษฎรของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง จะทำาให้ประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้น

                            ไม่สามารถเลือกตั้งพรรคการเมืองนั้นได้ไปด้วย ทำาให้ประชาชนเกิดความสับสนหรือ
                            บางคนไม่ทราบว่ามีบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวเสียด้วยซำ้า

                      4)   ปัจจัยด้านความต้องการการเปลี่ยนแปลง ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้

                            ประชาชนในจังหวัดสระแก้วมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงในหลากหลายสิ่งที่ตนเห็น
                            ว่าไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยเห็นว่าโดยรวมอยู่ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูก

                            ผูกขาดอำานาจจากกลุ่มบุคคลเดิม การที่นโยบายของพรรคการเมืองใหม่นั้นมีความเป็น
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14