Page 5 - kpiebook63032
P. 5
4 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
บทสรุปผู้บริหำร
งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา
การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทาง
การเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในจังหวัดสระแก้ว 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เงิน
ในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง 3) ศึกษาอิทธิพล ความสัมพันธ์ บทบาทของกลุ่มองค์กรภาคเอกชนที่มี
ส่วนได้ส่วนเสียต่อการเลือกตั้ง กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง และ 4) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพล
ต่อพฤติกรรมการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมือง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
ได้แก่ (1) นักการเมืองผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง (2) กลุ่มองค์กรภาคเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเลือกตั้ง
(3) ผู้แทนสถาบันทางการเมือง (ทั้งฝ่ายพลเรือน และฝ่ายความมั่นคง) และ (4) ประชาชน เก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling)
สรุปผลกำรวิจัย
1. จังหวัดสระแก้วเป็นเขตจังหวัดที่มีปรากฏการณ์ทางการเมืองในการย้ายและเปลี่ยนแปลง
ทั้งขั้วอำานาจทางการเมือง โดยการย้ายพรรคของบุคคลภายในตระกูลการเมืองชื่อดังที่สร้างฐานอำานาจ
และบารมีทางการเมืองมาอย่างยาวนาน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจดังกล่าวนี้เกิดจากทายาทตระกูล
การเมืองที่เป็นอดีต ส.ส.จังหวัดสระแก้ว พรรคเพื่อไทย คือ นายฐานิสร์ เทียนทอง และนางสาวตรีนุช
เทียนทอง ที่มีฐานะเป็นหลานชายและหลานสาว และได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของผู้เป็นลุงและได้รับการผลักดัน
จนเข้าสู่สนามการเมืองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่เริ่มต้น แต่ต่อมานับตั้งแต่กระแสของ
การก่อตั้งพรรคที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นพรรคที่จัดตั้งมาเพื่อสืบทอดอำานาจของรัฐบาล คสช. และเริ่มมี
การย้ายสังกัดของนักการเมืองหลายพรรคเข้าไปอยู่กับพรรคที่ก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ รวมถึงนายฐานิสร์ เทียนทอง
และนางสาวตรีนุช เทียนทอง ซึ่งเป็นนักการเมืองของจังหวัดสระแก้วด้วย ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้
จากการศึกษาเชิงลึก พบว่า การเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจเกิดจากการถูกชักชวนเพื่อไปร่วมอุดมการณ์ใหม่