Page 9 - kpiebook63019
P. 9
4
ดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า การดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่าด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
รองลงมา คือ ด้านการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ด้านความสำนึกรับผิดชอบ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา และ ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
จากผลดังกล่าว เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย จำนวน 32 องค์ประกอบในรายละเอียด พบว่า
มีองค์ประกอบที่ได้ผลการประเมินในระดับสูง จำนวน 8 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบย่อยที่ได้รับผลประเมิน
เฉลี่ยสูงที่สุด คือ องค์ประกอบย่อย เรื่องขีดความสามารถของกรรมาธิการในการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
(ค่าเฉลี่ย = 3.39 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79) องค์ประกอบย่อยที่ได้ผลการประเมินในระดับ
ปานกลาง จำนวน 29 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อยที่ได้ผลการประเมินในระดับต่ำ จำนวน
1 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบย่อย เรื่องความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภา (ค่าเฉลี่ย =
1.81 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.21)
ข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของรัฐสภา (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ในเรื่องการเป็น
ตัวแทนของประชาชนที่สำคัญ ได้แก่ ควรมีการกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของเพศหญิงในรัฐสภา รวมทั้งควรกำหนด
ที่มาและสัดส่วนของสมาชิกว่าควรมาจากกลุ่มใดบ้าง และจำนวนเท่าใด เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และเป็นตัวแทนของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างแท้จจริง มีข้อเสนอว่าควรมีการเปิดรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้รอบด้านมากขึ้นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อให้การพิจารณากฎหมายมีความรอบคอบและเกิดประโยชน์สูงสุด
และในการพิจารณากฎหมายควรกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจนเพื่อให้การพิจารณาเป็นไปอย่างรอบคอบและ
รวดเร็ว และในการทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารนั้นควรจะมีช่องทาง กลไกในการติดตาม ตรวจสอบ
การดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่หลากหลายมากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
องค์กรต่าง ๆ ในการทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และควรมีการสื่อสารให้แก่สาธารณะให้ได้รับทราบถึง
ผลการติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ มีข้อเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเปิดเผยข้อมูลพื้นฐาน และ
สารสนเทศต่าง ๆ ด้านนิติบัญญัติที่ถูกต้อง แม่นยำ เป็นปัจจุบัน และองค์กรภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูล
สารสนเทศต่าง ๆ ได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว อาจจะอยู่ในรูปของการจัดทำระบบฐานข้อมูลและเปิดเผยข้อมูล
การดำเนินงานโดยมีช่องทางที่สะดวกในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล รวมทั้งให้มีการทบทวนการได้มาของผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ชำนาญการ ผู้ช่วยดำเนินงานประจำสมาชิกรัฐสภาเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทั้งในด้านคุณสมบัติ และจำนวน
และเห็นควรให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน ข้อเสนอแนะด้านสำนึกรับผิดชอบของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น มีข้อเสนอให้มีการตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรมของสมาชิกสภานิติบัญญัติอย่าง
เข้มงวด อาทิ การทุจริตต่อหน้าที่ และความประพฤติที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น สำหรับภารกิจด้านการมีส่วนร่วม
ในนโยบายระหว่างประเทศนั้น เห็นควรว่าในการสร้างพันธะด้านกฎหมายและการเงินในเวทีระหว่างประเทศ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่มีต่อประชาชนในทุกระดับ รวมทั้ง
รัฐสภาควรจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมในนโยบายต่างประเทศของสมาชิกทุกคน เพื่อให้สมาชิก
ได้มีส่วนร่วมในนโยบายต่างประเทศ
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)