Page 7 - kpiebook63019
P. 7

2









               รายงานการศึกษา เรื่อง

               การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย

               (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ)





                     การศึกษาโครงการประเมินผลการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
               เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทยตามหลักเกณฑ์และกรอบแนวคิดของสหภาพรัฐสภา

               (Inter-Parliamentary Union : IPU) และเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานของรัฐสภา โดยศึกษา
               ผลการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งปฏิบัติหน้าที่รัฐสภาระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

               ถึง วันที่ 21 พฤษภาคม
พ.ศ. 2562  โดยในการดำเนินการศึกษาเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
               ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research)
               การจัดประชุมกลุ่มย่อย  (Focus Group)  และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ (in-depth interview)

               มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มเฉพาะ ประกอบด้วยอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
               อดีตสมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการระดับสูง สื่อมวลชน ผู้แทนจากภาคประชาสังคม ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน

               ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้แทนภาคเอกชน  และนักวิชาการด้านต่าง ๆ จำนวน 16 คน และ
               กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มผู้แทนประชาชนในพื้นที่ เป็นกลุ่มผู้แทนประชาชนในพื้นที่กรณีตัวอย่าง ได้แก่
               จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และ กรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง

               แบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling)  รวมจำนวน 87 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 103 คน

                     โดยมีกระบวนการศึกษาเชิงปริมาณผ่านการใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงจากเครื่องมือวิจัยในงาน

               วิจัย เรื่อง สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย : ศึกษากรณีการดำเนินงานของรัฐสภาตามหลักเกณฑ์
               และกรอบแนวคิดของสหภาพรัฐสภา (IPU)  โดยได้มีการตัด – เพิ่มข้อคำถามในบางประเด็นเพื่อให้สอดคล้อง
               กับการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  แบบสอบถามการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

               แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่

                     1) ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย รวมจำนวน จำนวน

                        11 ข้อคำถาม

                     2) ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย รวมจำนวน 17 ข้อคำถาม


                     3) ด้านการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย รวมจำนวน 13 ข้อคำถาม

                     4) ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบย่อย รวมจำนวน

                        18 ข้อคำถาม










            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12