Page 8 - kpiebook63019
P. 8

3






                     5) ด้านความสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย รวมจำนวน 8 ข้อคำถาม


                     6)  ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย รวมจำนวน
                        15 ข้อคำถาม


                     รวมทั้งสิ้น 82 ข้อ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
               ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                     ส่วนกระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพนั้น ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นในรูปแบบการประชุมกลุ่ม
               แบบสภากาแฟ (World Café) จำนวน 4 ครั้งในภูมิภาค และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การประมวลผล
               วิเคราะห์เนื้อหา และสรุปความเห็นตามประเด็นการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


                     หลังจากดำเนินการศึกษาแล้ว พบว่าผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
               ในภาพรวม สามารถสรุปได้ ดังนี้


                ด้านการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ความหมาย

                การเป็นตัวแทนของประชาชน (R)                    2.05              0.88            ปานกลาง

                การตรวจสอบฝ่ายบริหาร (O)                       2.53              0.91            ปานกลาง
                การทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ (L)                2.69              0.93            ปานกลาง

                ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ (T)                2.51              0.93            ปานกลาง

                ความสำนึกรับผิดชอบ (A)                         2.65              0.84            ปานกลาง

                การมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ (I)         2.73              0.89            ปานกลาง


               ค่าเฉลี่ยผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติโดยภาพรวม

                                                            R
                                                         5

                                                         4

                                            I            3  2.05           O
                                               2.73      2           2.53
                                                         1

                                                         0

                                                2.65                 2.69
                                            A                              L
                                                          2.51


                                                           T
                                                    ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน

                                       ค่าเฉลี่ยผลการประเมินการด าเนินงานของสภานิติบัญญัติโดยภาพรวม

                      ดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า การด าเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
               โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด

               รองลงมา คือ ด้านการท าหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ด้านความส านึกรับผิดชอบ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ด้าน
               ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา และ ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน มีค่าเฉลี่ยต่ าที่สุด

                      จากผลดังกล่าว เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย จ านวน 32 องค์ประกอบในรายละเอียด พบว่า

               มีองค์ประกอบที่ได้ผลการประเมินในระดับสูง จ านวน 8 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบย่อยที่ได้รับผลประเมิน
               เฉลี่ยสูงที่สุด คือ องค์ประกอบย่อย เรื่อง ขีดความสามารถของกรรมาธิการในการท าหน้าที่

               ด้านนิติบัญญัติ (ค่าเฉลี่ย = 3.39 คะแนน  และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79) องค์ประกอบย่อยที่ได้ผล
               การประเมินในระดับปานกลาง จ านวน 29 องค์ประกอบ และ องค์ประกอบย่อยที่ได้ผลการประเมินในระดับต่ า จ านวน

               1 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบย่อย เรื่อง ความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภา (ค่าเฉลี่ย = 1.81 คะแนน
               และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.21)


                      ข้อเสนอแนะส าคัญเพื่อพัฒนาการด าเนินงานของรัฐสภา (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ในเรื่องการเป็นตัวแทน
               ของประชาชนที่ส าคัญ ได้แก่ ควรมีการก าหนดสัดส่วนขั้นต่ าของเพศหญิงในรัฐสภา รวมทั้งควรก าหนดที่มาและ

               สัดส่วนของสมาชิกว่าควรมาจากกลุ่มใดบ้าง และจ านวนเท่าใด เพื่อให้สามารถท าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               และเป็นตัวแทนของประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างแท้จจริง มีข้อเสนอว่าควรมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของ
               ประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้รอบด้านมากขึ้นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.


                                                          3
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13