Page 11 - kpiebook63011
P. 11

11








                          การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งของ

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่” จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาและอธิบายบริบท
                  ทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคการเมืองและนักการเมือง กระบวนการคัดสรรผู้สมัคร

                  รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคการเมือง รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นสมาชิก
                  พรรคการเมืองเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ในนามพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหาแนวทาง

                  และวิธีการ และรูปแบบในการระดมทรัพยากร เพื่อแข่งขันในการเลือกตั้ง รวมทั้งวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง
                  ของพฤติกรรมประชาชน กลุ่มการเมืองในพื้นที่ ตลอดจนการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                  สมาชิกผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการค้นคว้าและวิจัย
                  เอกสาร (Documentary Research) และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก

                  (In-depth Interview Method) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus-group Interview Method) โดยผู้ให้ข้อมูล
                  ประกอบไปด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากหลากหลายพรรคการเมือง แต่เป็นผู้สมัครครอบคลุมทั้ง 9 เขตการเลือกตั้ง

                  ในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง ตัวแทนของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง, หน่วยงานรัฐ
                  ที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้าราชการท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการเลือกตั้ง,

                  นักวิชาการทางรัฐศาสตร์, ผู้นำาท้องถิ่น เครือข่ายกลุ่มผู้นำาการเมืองของพรรคการเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่,
                  ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก และประชาชน

                  ทั่วไปโดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยในเขตอำาเภอเมืองและเขตอำาเภอรอบนอกอำาเภอเมืองเชียงใหม่


                          ความสำาคัญของจังหวัดเชียงใหม่นอกเหนือจากการที่เป็นจังหวัดที่มีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  (ส.ส.) มาที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่

                  คือ พรรคเพื่อไทย ที่ครองความนิยมในพื้นที่มาอย่างยาวนานนับตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2544 ในนามของ
                  พรรคไทยรักไทย จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั้ง 9 เขตในการเลือกตั้ง

                  ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 และจังหวัดเชียงใหม่ยังเป็นจังหวัดแรกที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
                  ได้มีการให้ใบส้มแก่ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ชนะการเลือกตั้งใน เขต 8 จึงส่งผลให้ กกต.ประกาศให้มีการ

                  จัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2562 มีผลทำาให้ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งใหม่

                          ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเขตอำาเภอเมืองและใกล้เขต

                  อำาเภอเมืองกับเขตนอกเมืองและพื้นที่ห่างไกลออกไป ต่างให้ความสนใจและตื่นตัวกับการเลือกตั้งในวันที่

                  24 มีนาคม 2562 เนื่องจากการไม่มีการเลือกตั้งมาเป็นระยะเวลานานนับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ.2557
                  และการเติบโตของสื่อโซเชียลมีเดียและโทรทัศน์ดิจิทัลทำาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเมือง
                  ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของพื้นที่รอบนอกเขตอำาเภอเมืองจำานวนมาก โดยเฉพาะ

                  ในเขตพื้นที่ห่างไกลบนที่ราบสูงและชุมชนชาติพันธุ์ ยังไม่เข้าใจเงื่อนไข รายละเอียด กติกาของระบบ

                  การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมอย่างถูกต้อง ดังนั้น เมื่อพื้นที่ที่ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองยังเข้าไม่
                  ถึง จึงง่ายต่อการชี้นำาข้อมูลการเมือง ข่าวสารการเลือกตั้งโดยหัวคะแนน ตัวแทนพรรคการเมืองหรือผู้สมัคร
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16