Page 14 - kpiebook63011
P. 14
14 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
จากการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงก่อน ระหว่างและหลังการเลือกตั้งในจังหวัดชียงใหม่ พบว่า การเลือกตั้ง
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 ได้นำาไปสู่โจทย์ทางการเมืองเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ระบบเลือกตั้ง พรรคการเมือง
พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และสื่อออนไลน์ ที่จำาเป็นต้องทำาการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำา
ความเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการออกแบบระบบ
การเลือกตั้งให้สอดคล้องกับการตั้งมั่นของประชาธิปไตยที่สะท้อนสิทธิและความต้องการของประชาชนอย่าง
แท้จริง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อประชาชนเป็นตัวแสดงสำาคัญ เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่แค่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
แต่ยังรวมถึงการเข้าใจกติกา บทบาทหน้าที่ของตนเอง การทำาหน้าที่พลเมืองในการเฝ้าติดตาม ตรวจสอบสถาบัน
ทางการเมืองทั้งรัฐบาล พรรคการเมือง และองค์กรของรัฐให้ทำาหน้าที่และบทบาทของตนเอง
เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญต่อบทบาทของพรรคการเมืองมากขึ้น ดังนั้น ข้อเสนอแนะ
ของการวิจัย คือการสร้างองค์กรพรรคการเมืองให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งมีความสำาคัญต่อการพัฒนาการเมือง ควรมี
การส่งเสริมบทบาทของพรรคการเมืองผ่านสาขาพรรคและทำางานในรูปแบบของภาคีระหว่างกลุ่มและองค์กรต่าง ๆ
ในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังเช่นจังหวัดเชียงใหม่
การให้ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งเพื่อคุณภาพของคะแนนเสียง การพัฒนาศักยภาพของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งในการนำาเทคโนโลยีการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากร รายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
เพื่อใช้ในการส่งเสริมความรู้ พัฒนาบุคลากรของ กกต. และจัดการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพมีมาตรฐาน
การพัฒนาพรรคการเมืองควรส่งเสริมพรรคให้มีบทบาทในการนำาเสนอนโยบายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ตอบสนองความต้องการของประชาชน ที่ส่งผลให้พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ที่ได้รับเลือก
ซึ่งมาจากความต้องการของประชาชนและมีบทบาทความเป็นตัวแทนแบบประชาธิปไตยของประชาชนอย่าง
แท้จริง