Page 10 - kpiebook63011
P. 10
10 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
บทสรุปส�ำหรับผู้บริหำร
การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีความสำาคัญ
ต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองไทย ความสำาคัญของการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2562
ไม่ได้เป็นเพียงกระบวนการทางการเมืองที่เป็นองค์ประกอบสำาคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
เท่านั้น แต่ยังมีความสำาคัญต่อกระบวนการการเรียนรู้การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่สำาคัญ เห็นได้จากการเกิดขึ้น
ของวาทกรรมเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองของขั้วประชาธิปไตยและขั้วตรงกันข้าม ที่ประทุขึ้นมาท่ามกลาง
ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เกิดปรากฎการณ์การแสดงออกทางการเมือง
ของประชาชนทั้งในโลกออนไลน์และในพื้นที่สาธารณะปรากฎให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันเกิดการ
ขับเคลื่อนทางการเมืองของสถาบันและองค์กรทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) พรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ได้มีบทบาทและปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองกับประชาชนมากขึ้น
การเลือกตั้งครั้งนี้นอกจากสะท้อนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
แล้ว ยังปรากฎให้เห็นการตื่นตัวของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีจำานวนพรรคการเมืองและผู้สมัคร
รับเลือกตั้งที่เสนอตัวในการเลือกตั้งครั้งมีจำานวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 จึงถือเป็นความท้าทายของการศึกษาพัฒนาทาง
การเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 การเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งโดยการใช้ระบบ
จัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System: MMA) ที่ทำาให้มีกฎเกณฑ์และแนวทาง
การจัดการการเลือกตั้งแตกต่างออกไปจากระบบการเลือกตั้งที่ประชาชนคุ้นเคยจากการเลือกตั้งในอดีต เช่น
การมีบัตรเลือกตั้งใบเดียว การที่หมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคเดียวกันมีหมายเลขผู้สมัครแตกต่างกัน
ในเขตการเลือกตั้งคนละเขตในจังหวัดเดียวกัน หรือ วิธีการคำานวนคะแนนเสียงแบบนับทุกเสียงที่มีผลต่อสัดส่วน
จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ เป็นต้น