Page 6 - kpiebook63011
P. 6

6    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่







                                            บทคัดย่อ



























                       การวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งของ
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์

               การวิจัยเพื่อศึกษาและอธิบายบริบททางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคการเมือง
               และนักการเมือง กระบวนการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคการเมือง

               รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ในนามพรรคการเมือง
               ในเขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหาแนวทางและวิธีการ และรูปแบบในการระดมทรัพยากร เพื่อแข่งขัน

               ในการเลือกตั้ง รวมทั้งวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมประชาชน กลุ่มการเมืองในพื้นที่ ตลอดจน
               การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่

                       การวิจัยนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล (Key

               Informants) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการการเลือกตั้ง ทั้งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหาร

               พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง ผู้นำาชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการในระดับภูมิภาค และ
               ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผลจากการศึกษาพบว่าบริบททางการเมืองที่ยังมีการควบคุม
               กำากับโดยรัฐบาลส่งผลให้เกิดข้อจำากัดในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมือง

               การคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองมีความแตกต่างไปตามยุทธศาสตร์และฐานคะแนนเสียง

               ของพรรคการเมือง ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมมีผลต่อกระบวนการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้ง
               พรรคการเมืองหลายพรรคไม่ได้คาดหวังการชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งแต่ต้องการคะแนนเสียงเพื่อ
               ที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อ รวมไปถึงสื่อออนไลน์ (Social Media) มีผลต่อรูปแบบและวิธีการรณรงค์หาเสียง

               เลือกตั้งของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง และยังมีผลต่อการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มี

               ผลให้ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่มีความตื่นตัวทางการเมืองในการออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
               วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First-time Voters) ทั้งนี้ บทบาท
               ของหัวคะแนน เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ และการซื้อเสียงยังคงปรากฎในการเลือกตั้งและเป็นเงื่อนไขสำาคัญ

               ที่ทำาให้พรรคการเมืองและผู้สมัครไม่แพ้แต่ไม่ได้เป็นหลักประกันเดียวที่จะทำาให้ชนะการเลือกตั้งอีกต่อไป
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11