Page 493 - kpiebook63010
P. 493

492      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      ประเด็นท้าทายในการอธิบายพรรคอนาคตใหม่นั้นจึงอยู่ที่ว่าพรรคอนาคตใหม่นั้นเป็นพรรคของ

             คนรุ่นใหม่ แต่ความเป็นคนรุ่นใหม่นั้นไม่ใช่เพียงแค่ช่วงอายุ หรือวัย แต่เป็นเรื่องของสิ่งที่ Mouffe (1992)
             เรียกว่า  “อัตลักษณ์ทางการเมือง” (political idenity) ซึ่งเกี่ยวพันกับความเป็นชุมชนทางการเมืองที่จะต้อง

             ท�าการรับรู้ด้วยการสร้างให้ปรากฏเห็นด้วยวาทกรรมมากกว่าเรื่องของการอ้างอิงเชิงประจักษ์ ในความหมายนี้
             Mouffe เห็นว่า ชุมชนทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ต้องถูกสร้างขึ้น โดยการรวบรวมความหลากหลายของข้อเรียกร้อง

             เพื่อสร้างความเป็น “ตัวตน/ตัวเรา” ขึ้นมาโดยสัมพันธ์กับการสร้างจุดร่วมที่ดีงามบางประการ และจุดร่วมนั้น
             จะต้องถูกรับรู้ในฐานะจุดที่แม้จะยังไปไม่ถึง แต่ต้องเป็นจุดร่วมที่เราต้องกล่าวถึง/อ้างอิงถึงอย่างสม�่าเสมอ

             ซึ่งในด้านหนึ่งการกระท�าดังกล่าวก็คือการสร้างจินตนาการทางสังคมบางอย่างที่ชี้ถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะไป
             ให้ถึงสิ่งนั้น และในอีกด้านหนึ่งก็ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของความเป็นตัวแทนในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้พื้นที่

             ที่ถูกจ�ากัดเอาไว้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง Mouffe ยังชี้ว่า แนวคิดเรื่องจุดร่วมที่ดีงามนั้นก็บ่งชี้ถึงความภักดีที่มีต่อ
             หลักการทางคุณธรรมการเมืองในประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องของเสรีภาพและความเท่าเทียมกันส�าหรับ

             ทุกคน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีการตีความกันอย่างหลากหลาย ในแง่นี้การพูดถึงชุมชนทางการเมืองที่น�าเอาทุกคนเข้ามา
             อยู่ร่วมกันได้นั้นก็อาจจะไม่สามารถที่จะเป็นไปได้ เพราะมักจะมีความเป็นคนนอก หรือ สิ่งอื่นบางอย่างที่เป็น

             เงื่อนไขให้ความเป็นชุมชนทางการเมืองนั้นเกิดขึ้นได้ และเป็นสิ่งที่ท�าให้เรามีความเป็น(พวก)เรา และ(พวก)เขา
             กล่าวโดยสรุป Mouffe ย�้าว่า ในทุกรูปแบบของการสร้างฉันทามตินั้นย่อมจะต้องวางอยู่บนรากฐานของการ

             ผลักออกหรือแยกสิ่งหนึ่งออกไป ขณะที่เงื่อนไขของความเป็นไปได้ของการที่จะสร้างชุมชนทางการเมืองได้นั้น
             ก็เป็นเรื่องเดียวกับเงื่อนไขของความเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุความเป็นชุมชนที่ทุกคนจะอยู่ในชุมชนนั้นได้

             โดยสมบูรณ์ (Mouffe, 1992, น.30)


                      กล่าวอีกอย่างหนึ่ง การท�าความเข้าใจว่าพรรคอนาคตใหม่นั้นเป็นพรรคที่มีขึ้นเพื่อไปเสนอตัวให้กับ
             คนรุ่นใหม่เป็นทางเลือกนั้นไม่ใช่วิธีการเดียวในการเข้าใจก�าเนิดและแก่นแท้ของพรรคอนาคตใหม่ แต่ควรเข้าใจ

             ว่าการสร้างพรรคอนาคตใหม่เกิดจากการสร้าง “ความเป็นคนรุ่นใหม่” ขึ้นมาในฐานะอัตลักษณ์ทางการเมือง
             และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อชี้ให้คนรุ่นใหม่เห็นทางเลือกที่ดีกว่า หรือมีความหวังใหม่ ๆ ซึ่งสิ่งนั้น

             แม้จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นไปไม่ได้ (อาทิการวิจารณ์เรื่องข้อเสนอรัฐสวัสดิการ หรือ ข้อวิจารณ์เรื่องการจะล้มล้าง
             ผลพวงการท�ารัฐประหาร รวมถึงหยุดยั้งอ�านาจของ คสช.) แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับท�าให้คนที่เป็นคนรุ่นใหม่

             ที่เกิดขึ้น นั้นมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นคนในชุมชนจินตกรรมเดียวกัน และในการที่จะเป็นชุมชน
             ของคนรุ่นใหม่ได้นั้นก็ย่อมจะต้องเห็นว่ามี “ใคร” อาทิ “การเมืองเก่า” ที่แตกต่างและอยู่นอกจินตกรรม

             ของความเป็นคนรุ่นใหม่และความใฝ่ฝัน/จุดร่วมที่ดีงามของคนรุ่นใหม่ได้ จากที่กล่าวมาจะพอเห็นตัวอย่าง
             ได้จากค�าปราศรัยของปิยบุตร แสงกนกกุล แกนน�าพรรค เช่น ส่วนหนึ่งของค�าปราศรัยในการประชุมเพื่อเตรียมการ

             จัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ณ ยิมเนเซียม 5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
             ศูนย์รังสิต ว่า “พวกเรา ชาวอนาคตใหม่ จะไม่ยอมทนอยู่ในนรก พวกเราจะไม่ยอมถูกกลืนให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง

             ของนรก แต่พวกเราจะท�าให้สิ่งที่ไม่ใช่นรกปรากฏขึ้น และเบียดขับเข้าแทนที่นรก ไม่มีหนทางใดที่เราจะออกจาก
             นรกได้ นอกจากลงมือก�าจัดมัน” (พรรคอนาคตใหม่, 2561ข)
   488   489   490   491   492   493   494   495   496   497   498