Page 492 - kpiebook63010
P. 492

491







                          4.3.4.1 ปัจจัยเรื่องของคนรุ่นใหม่กับความส�าเร็จของพรรค


                          โดยความเข้าใจทั่วไป พรรคอนาคตใหม่คือพรรคของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีนัยยะของอายุ หรือนัยยะ

                  ทางประชากรศาสตร์ ที่เชื่อว่าคนรุ่นเดียวกันจะมีค่านิยม ความคิดและพฤติกรรมทางเมืองที่เหมือนกัน
                  การน�าแนวคิดนี้มาท�าความเข้าใจพรรคอนาคตใหม่วางบนรากฐานความเชื่อเรื่องการเมืองเรื่องช่วงวัยและรุ่น

                  นั่นก็คือ คนที่สนับสนุนพรรคคนรุ่นใหม่คือ first time voter หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก จากสถิติของ
                  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยที่ระบุว่ามีจ�านวน 7,368,589 คน คิดเป็นสัดส่วน 14.38 % ของผู้มีสิทธิ

                  เลือกตั้งทั้งหมด (ประชาไท, 2562ข)


                          ข้อสังเกตก็คือ ค�าอธิบายเช่นนี้มีลักษณะเหมารวมเป็นอย่างมาก โดยฐานคติที่ว่าคนในหนึ่ง
                  ช่วงวัยเดียวกันนั้นจะมีชุดทัศนคติทางการเมืองเดียวกัน (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2562ก) ทั้งที่ไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า

                  ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศในช่วงวัยดังกล่าวจะเลือกพรรคอนาคตใหม่ทั้งหมด หากลองพิจารณาจ�านวน
                  ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกมีจ�านวนถึง 7,368,589 คน กับคะแนนของพรรคอนาคตใหม่ที่ได้ทั้งประเทศ

                  6,265,950 คน จะพบว่าไม่ได้เป็นเสียงเดียวกัน


                          และมีความเป็นไปได้ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกนั้นจะเลือกพรรคอื่นเช่นกัน เพราะพรรคอื่นก็ชูสโลแกน
                  และประเด็นของคนรุ่นใหม่ และมีผู้สมัครและผู้บริหารพรรคเป็นคนรุ่นใหม่เช่นกัน อาทิ พรรคประชาธิปัตย์
                  ที่มี นายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ (ไอติม) และ นายแพทย์คณวัฒน์ (หมอเอ้ก) แกนน�ากลุ่ม นิวเด็ม ลงสมัครเป็นผู้แทน

                  และได้รับความสนใจในหน้าสื่อ หรือสามารถพิจารณาจากรายการดีเบตตามสื่อที่ทุกพรรคต่างส่งตัวแทน

                  ของพรรคที่เป็น “คนรุ่นใหม่” มาร่วมรายการทั้งสิ้น มิพักต้องกล่าวถึงว่าพรรคอย่างประชาธิปัตย์ซึ่งนับจาก
                  อดีตจนถึงปัจจุบันก็มักจะน�าเสนอความเป็นคนรุ่นใหม่ของพรรคในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของพรรค นับตั้งแต่
                  ยุวประชาธิปัตย์ มาถึง กลุ่ม “นิวเด็มฯ” ในการเลือกตั้งครั้งนี้


                          ประการต่อมา ทั้งคณะกรรมการบริหารพรรค และ ผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่นั้นไม่ใช่คนที่เป็นผู้มีสิทธิ

                  เลือกตั้งครั้งแรก หากลองดูอายุเฉลี่ยของคณะกรรมการบริหารพรรค (ค�านวนที่ พ.ศ. 2562) จะพบว่ามีอายุเฉลี่ย
                  46 ปี (อายุมากที่สุดคือ 63 ปี ได้แก่ พลโท พงศธร รอดชมพู และ นายช�านาญจันทร์เรือง ส่วนที่อายุน้อยที่สุด

                  คือ 30 ปี นางสาว พรรณิกา วานิช) โดยมีช่วงวัยประมาณ 40-49 ปี และสะท้อนคนหลากวัยที่เข้ามาท�างาน
                  ร่วมกัน ดังนั้นค�าว่า “คนรุ่นใหม่”  จึงมีความหมายที่กว้างกว่าช่วงวัยเดียวและความเชื่อที่ว่าวัยเดียวกันจะมี

                  แนวโน้มทัศนคติทางการเมืองแบบเดียวกัน


                          ในประการสุดท้าย คะแนนเสียงที่เลือกพรรคอนาคตใหม่ในรอบนี้อาจเป็นคะแนนเสียงที่มาจากคนที่
                  เลือกเพื่อไทยที่ไม่ได้ลงในเขตนั้น และไทยรักษาชาติถูกตัดสิทธิฯ หรือพรรคอื่น ๆ ก็ได้ (ประเด็นนี้จะอภิปราย

                  ต่อในส่วนของผลงานของพรรคอนาคตใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครในส่วนต่อไป)
   487   488   489   490   491   492   493   494   495   496   497