Page 495 - kpiebook63010
P. 495
494 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
4.3.4.2 เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ จุดพลิกผันของความนิยมในพรรคอนาคตใหม่
และกระแสต่อต้านพรรคอนาคตใหม่
พรรคอนาคตใหม่จึงไม่ใช่พรรคการเมืองที่น�าเสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเชิงนโยบาย
แต่พรรคอนาคตใหม่นั้นเป็นขบวนการทางสังคมที่สร้างสรร “ความเป็นคนรุ่นใหม่” ในฐานะอัตลักษณ์ทางการเมือง
ที่คนในทุกวัยและทุกช่วงชั้นสามารถเข้ามาอยู่ในอัตลักษณ์ทางการเมืองใหม่ หรือชุมชนจินตกรรมใหม่นี้ได้
และโดยรากฐานการท�าความเข้าใจพรรคอนาคตใหม่เช่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจว่าท�าไมพรรคอนาคตใหม่นั้น
จึงถูกโจมตีจากกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ผลิตสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองอีกแบบหนึ่งมาโดยตลอด
อย่างไรก็ดี การอธิบายว่าพรรคอนาคตใหม่นั้นเชื่อมโยงกับการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ทางการเมืองนั้น
ไม่ได้หมายความว่าพรรคอนาคตใหม่นั้นน�าเสนอตัวเองให้กับผู้เลือกตั้งที่มีอยู่แล้วในฐานะปัจเจกบุคคล หรือพรรคฯ
สามารถครอบง�าผู้คนได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับอนาคตใหม่ท�าให้เป็นที่นิยมนั้นก็คือปฏิสัมพันธ์
ระหว่าง การเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ เหตุการณ์ความพลิกผันทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย
และไทยรักษาชาติ ความกระตือรือล้นของคนรุ่นใหม่ที่จะเข้าร่วมขบวนการและสร้างสรรความหมายทางการเมือง
ให้กับพรรคนี้โดยไม่ได้ถูกก�าหนดตรงจากพรรค และปฏิกิริยาตอบโต้ของ คนที่ไม่ใช่คนรุ่นใหม่ (ซึ่งอาจจะมีนิยามชื่อ
หลายแบบ ทั้งพวกเขาเองและที่คนรุ่นใหม่นิยามให้) ต่อ “คนรุ่นใหม่”
ก. การเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่: พรรคอนาคตใหม่ให้ความส�าคัญกับการใช้สื่อโซเชียล
ในการสื่อสารกับประชาชนมากที่สุด ไม่ว่าจะด้วยเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไอจี ยูทูป จากการเปรียบเทียบจ�านวน
ยอดคนติดตามของ พรรคหลัก คือ พลังประชารัฐ เพื่อไทย ไทยรักษาชาติ ประชาธิปัตย์ และ ภูมิใจไทย
จะพบสถิติว่า พรรคอนาคตใหม่นั้นเป็นพรรคที่มียอดคนไลค์มากที่สุดในบรรดาพรรคใหม่ คือ พลังประชารัฐ
และ ไทยรักษาชาติ นับตั้งแต่เริ่มตั้งพรรคมาเป็นเวลาโดยประมาณหนึ่งปี