Page 494 - kpiebook63010
P. 494
493
หรือค�าปราศรัยโค้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น
ดินแดง ว่า “ภารกิจที่พรรคอนาคตใหม่แบกรับเอาไว้ ไม่ใช่แค่เพียงแค่หยุดยั้งการสืบทอดอ�านาจของ คสช.
ไม่ใช่เพียงแค่จัดการมรดกตกทอดของ คสช. ไม่ใช่เพียงแค่เอาประชาธิปไตยกลับมา หากแต่เราต้องการรื้อฟื้น
ความเชื่อมั่นการเมืองแบบประชาธิปไตย การเมืองแบบผู้แทน การเมืองในระบบรัฐสภาที่ถูกท�าลายความเชื่อมั่น
ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา” (Pokpong Junvith, 2562)
ตัวอย่างค�ากล่าวของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค หัวข้อ “คนเท่าเทียมกัน ไทยเท่าทันโลก”
ในงานแถลงนโยบายพรรคอนาคตใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนอนาคต วันที่ 16 ธันวาคม 2561 ที่ศูนย์การประชุม
แห่งชาติสิริกิติ์ ที่ส่วนหนึ่งกล่าวถึงการไม่ยอมทนอยู่ในสังคมแบบเดิม และไม่ต้องการส่งต่อสังคมแบบที่เป็นอยู่
ให้แก่คนรุ่นต่อไป โดยกล่าวว่า “พวกเราชาวอนาคตใหม่ทุกคนคือคนที่บอกว่า พอกันทีกับสังคมแบบเดิม
พวกเราคือคนที่บอกว่าพอกันที เราจะไม่ยอมทนอยู่อย่างนี้อีกต่อไปแล้ว ทนไม่ไหวแล้ว อยู่กับความขัดแย้ง
มาเป็นสิบปี เรามองไม่เห็นการพัฒนา เรามองไม่เห็นโอกาส…” (พรรคอนาคตใหม่, 2561ก) ธนาธรยังได้น�าภาพ
ลูกของตนขึ้นจอภาพเพื่อประกอบการสื่อสารว่าต้องการให้คนรุ่นต่อไปอยู่ในสังคมที่ดีกว่าเดิม โดยกล่าวต่อไปว่า
“...เราต้องการให้พวกเขาเติบโตมาในสังคมที่ดี ผมไม่ต้องการให้พวกเขาเติบโตมาในสังคมที่ผมเติบโตขึ้นมา
แน่นอนที่สุด ผมเติบโตมาในครอบครัวที่มีทรัพยากรมากกว่าคนอื่น แต่ก็ยังไม่วาย ทุกครั้งที่เห็นความอยุติธรรม
ทุกครั้งที่เห็นความยากจน มันสุดจะทนจริง ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ผมไม่ต้องการให้พวกเขาเติบโต
ขึ้นมาในสังคมแบบนี้ สังคมที่มีรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้งใน 86 ปีของการพัฒนาประชาธิปไตย...” (เพิ่งอ้าง)
หรืออีกตัวอย่างคือโพสต์ในเฟซบุ๊กของธนาธร ซึ่งเป็นโพสต์ที่ธนาธรเรียกร้องให้ชาวอนาคตใหม่
หนักแน่น ไม่โดนท�าลายด้วย “การเมืองเก่า” โดยส่วนหนึ่งโพสต์ว่า “ความพยายามที่จะท�าลายผมและพรรค
อนาคตใหม่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง...พวกเราชาวอนาคตใหม่ก�าลังท�าภารกิจส�าคัญด้วยกัน ดังนั้นขอให้เราหนักแน่น
อย่าหวั่นไหวไปกับข่าวที่มุ่งหวังท�าลายเรา การเดินทางเพื่อเปลี่ยนแปลงยังอีกไกล จับมือกันไว้ให้แน่น
และแสดงให้พวกเขาเห็นว่าอุดมการณ์ของเราแข็งแกร่งกว่าที่เขาคิดมากนักและจะไม่โดนท�าลายด้วย
การเมืองเก่าสกปรกเช่นนี้” (มติชนออนไลน์, 2562ก)
(หมายเหตุ สิ่งที่ต้องขยายความก็คือ ในเงื่อนไขค�าอธิบายแบบ Mouffe นี้จะพบสายสัมพันธ์
ความเชื่อมโยงของเธอกับงานของ Gramsci ที่อธิบายการสร้าง hegemony มิใช่ในความหมายของการครอบง�า
โดยสมบูรณ์ หรือการล้างสมอง แต่เป็นการเชื่อมโยงและขัดเกลาสิ่งที่ผู้คนในสังคมนั้นสัมผัสและรู้สึกอยู่แล้ว
ให้มีความเข้าใจที่ถ่องแท้ขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาถูกกดขี่และเอาเปรียบนั้นสัมผัสและพยายามดิ้นรน
มาโดยตลอด แต่อาจจะยังไม่ช�านาญและช�่าชองในการยกระดับการต่อสู้ขึ้นเป็นกระบวนการได้ (Gramsci, 1971
และ Laclau and Mouffe, 1985)