Page 498 - kpiebook63010
P. 498
497
กล่าวโดยสรุป พรรคอนาคตใหม่ได้ประกาศจุดยืนต่อสถานการณ์ในตอนเช้าของวันที่ 8 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2562 โดยการเสนอตัวเป็นทางเลือกที่สามออกจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น โดยยืนยันหลักการ
ไม่เอารัฐประหาร ไม่เอาการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และพร้อมเป็นทางเลือกใหม่
ค. “กระแสฟ้ารักพ่อ” และ การต่อต้านอนาคตใหม่ : กระแสฟ้ารักพ่อเป็น hashtag ในทวิตเตอร์
ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธุ พ.ศ. 2562 โดยเหตุการณ์
ที่มีนักศึกษาคนหนึ่งตะโกนเชียร์ ธนาธร ซึ่งเข้าร่วมงานในวันนั้น โดยอิงกับเรื่องราวนิยายและละครยอดนิยม
หรือ “ดอกส้มสีทอง” ที่นางเอกของเรื่องมีความสัมพันธ์กับผู้ชายคราวพ่อ
กระแสฟ้ารักพ่อได้รับความนิยมในทวิตเตอร์จนติดเทรนอันดับหนึ่งในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ และท�าให้
เกิดการพูดถึงตามสื่อต่าง ๆ ทั้งที่เดิมนั้นหาเสียงกับนิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงครั้งแรกของพรรค
อนาคตใหม่ก็เป็นส่วนที่พรรคฯให้ความส�าคัญอยู่แล้ว แต่การเชื่อมโยงกับนักศึกษาในตอนแรกยังเป็นไปในลักษณะ
การเชื่อมโยงกับขบวนการนักศึกษาและกลุ่มกิจกรรมทางการเมืองและสังคม รวมทั้งบรรดานักวิชาการที่มีจุดยืน
ต่อต้านรัฐประหารในเบื้องต้น คือการได้รับเชิญไปพูดและอภิปรายตามเวทีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่ว
ประเทศ
แต่กระแส “ฟ้ารักพ่อ” นั้นเป็นจุดพลิกผันที่ท�าให้อุดมการณ์ในฐานะการขับเคลื่อนหลักของ
พรรคอนาคตใหม่กับการรณรงค์กับนิสิตนักศึกษานั้น ขยายวงการเข้าถึงและสนใจมาเป็น “กระแส/ความนิยม”
เป็นตัวขับเคลื่อนการรณรงงค์ และด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ท�าให้การรณรงค์นั้นแพร่กระจาย
ไปด้วยตัวผู้รับสารเอง เพราะทวิตเตอร์นั้นเพิ่มยอดโดยการรีทวิต หรือส่งต่อข้อความเอง และไม่ได้ส่งออกมา
จากพรรค นอกจากนั้น ความนิยมของพรรคอนาคตใหม่นั้นก็เพิ่มมาจากการเปิดตัวผู้สนับสนุนพรรคที่ไม่ได้
เชื่อมโยงในแง่ของการท�างานให้พรรคโดยตรง(หรือคณะท�างาน) ซึ่งโดยเทคโนโลยีสื่อใหม่นั้น ทุกคนสามารถ
ที่จะเป็นสื่อและแพร่กระจายความคิดของตนเองไปได้ การเกิดกระแสการกล่าวถึงในโลกโซเชียล/โลกออนไลน์นั้น
ไม่ได้เกิดจากพรรคผลิตสื่อนั้นเองเท่านั้น แต่เกิดจากการที่มีการส่งต่อข้อความกันไปมา (บรรดา“ฟ้า”
หรือ “ติ่งส้ม”) และเกิดจากผู้ที่เป็นที่นิยมหรือทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์และออฟไลน์ (influencers) ประกาศตัว
สนับสนุนพรรคฯ (และพร้อมตอบโต้ถกเถียงกับคนอื่น ๆ ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์พรรค)
ความนิยมในโลกออนไลน์ ท�าให้พรรคอนาคตใหม่และนายธนาธรได้รับคะแนนนิยมจ�านวนมาก พิจารณา
ได้จากผลโพลหลายส�านัก เช่น ผลโพลของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ได้ท�าการส�ารวจในเดือนกุมภาพันธ์ พรรคการเมืองที่คนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเลือกพรรคอนาคตใหม่
เป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 37.8 ส่วนคนที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดคือ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
คิดเป็นร้อยละ 36.6 โดยผลส�ารวจดังกล่าวอธิบายไว้ว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นั้น เป็นช่วงที่มีข่าวนายธนาธร
ค่อนข้างมาก เช่น การตกเป็นเป้าโจมตี ซึ่งก่อนหน้านั้นได้จัดท�าโพลขึ้นในเดือนมกราคม ผลส�ารวจพบว่า
นายอภิสิทธิ์ เหมาะสมที่จะเป็นายกรัฐมนตรี คิดเป็นร้อยละ 25.3 ส่วนพรรคการเมืองที่จะเลือกเป็นอันดับแรกคือ
พรรคเพื่อไทย คิดเป็นร้อยละ 26.1 (Spring News, 2562ค) ในขณะที่โพลนิสิตจุฬาฯ จัดท�าโดยชมรมสภาจ�าลอง