Page 501 - kpiebook63010
P. 501

500      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      2. ความเห็นก�้ากึ่งและมองในลักษณะของความเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ เช่น การแสดงความเห็นผ่าน

             เฟซบุ๊กของนางทยา ทีปสุวรรณ อดีตแกนน�า กปปส. และภรรยาของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้า
             พรรคพลังประชารัฐ โดยโพสต์ว่า “ปรากฏการณ์ “อนาคตใหม่ฟีเวอร์” ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าชื่นชม ยินดี

             แต่เป็นเสียงสะท้อนอย่างชัดเจนให้กับนักการเมืองรุ่นเก่า รุ่นกลางว่าต้องปรับตัวอย่างไร เด็กรุ่นใหม่เติบโตมา
             กับอะไร แล้วพวกเค้าต้องการอะไร คนดูจากข้างนอก โดยเฉพาะวัยเรา วัยพ่อแม่เรา ได้แต่บ่นว่า “น่ากลัวจัง”

             แต่ในเมื่อเด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่เค้าเลือกแล้ว เราก็ต้องยอมรับมัน ก็เหลือแต่นักการเมืองมีประสบการณ์ทั้งหลาย
             ที่เข้าไปนั่งในสภา รวมถึงนักการเมืองคนรุ่นใหม่จากพรรคอื่น ๆ ว่าจะท�าอย่างไรให้สามารถครองใจพวกเค้าได้

             ไม่ท�าให้เค้า “เบื่อ” จนต้องไปหาทางเลือกใหม่ ทั้ง ๆ ที่ทางนั้นมัน “อันตราย” ...” (มติชนออนไลน์, 2562ซ)


                      3. ข่าวปลอม ซึ่งมี 2 แบบ คือข่าวปลอมที่ผลิตขึ้นมาโดยไม่มีฐานความจริง กับ ข่าวปลอมที่บิดเบือน
             ข้อเท็จจริง


                         3.1  ข่าวปลอมที่ผลิตขึ้นมาโดยไม่มีฐานความจริง เช่น คลิปเสียงของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
                            หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สนทนาร่วมกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีเนื้อหาในเชิง

                            การต่อรองที่นั่ง ส.ส. เพื่อจัดตั้งรัฐบาล เป็นคลิปที่ปลอมขึ้นมา (INN news, 2562ค)

                         3.2  ข่าวปลอมที่บิดเบือนข้อเท็จจริง อาทิ ดึงประเด็นมาแค่บางส่วนจากบริบท และท�าให้เกิด

                            ความเข้าใจผิด ตัวอย่างเช่น การน�าค�าสัมภาษณ์บางส่วนของธนาธรที่ให้สัมภาษณ์กับ
                            บางกอกโพสต์ เกี่ยวกับการสร้างความปรองดองโดยผู้น�าของแต่ละสีเสื้อต้องมาเข้าสู่กระบวนการ

                            ยุติธรรมที่เสรีและเป็นธรรม มาสร้างเป็นข่าวว่าธนาธรเสนอให้พานายทักษิณ ชินวัตรกลับบ้าน
                            (ข่าวสด, 2562ซ)


                      4. การวิจารณ์ในขบวนการก้าวหน้าด้วยกัน อาทิ ไม่ก้าวหน้าเพียงพอ เช่น บทความของใจ อึ๊งภากรณ์
             (2561) เรื่อง “แรงงานไม่ควรหลงเลือกนายใหม่ในรูปแบบพรรคอนาคตใหม่” ซึ่งมีเนื้อหาเรียกร้องให้ชนชั้นแรงงาน
             พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับการสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ที่ใจวิจารณ์ว่าเป็นพรรคนายทุน โดยใจได้วิจารณ์ถึง

             วิธีคิดและการปฏิบัติที่ผ่านมาของธนาธรต่อสหภาพแรงงาน และวิจารณ์ถึงข้อเสนอของพรรคอนาคตใหม่

             ในลักษณะว่าข้อเสนอของพรรคขาดไปในบางเรื่องและยังไม่ก้าวหน้าพอ

                      อย่างไรก็ตามดังที่ได้อภิปรายเอาไว้แล้วว่า พรรคอนาคตใหม่นั้นเป็นพรรคที่มีรากฐานจากขบวนการ

             เคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีความมุ่งมั่นกระตือรือร้นในการสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองใหม่ และโดยเงื่อนไข
             ของกระบวนการและการสร้างตรรกะทางการเมืองดังกล่าวนั้นที่ท�าให้เกิดลักษณะร่วม และเกิดคนนอกวงชุมชน

             จินตกรรมทางการเมืองใหม่นั้นด้วย ดังนั้นยิ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์หรือไม่ยอมรับพรรคนี้จาก “คนนอก” ชุมชน
             ดังกล่าว ก็ไม่มีผลท�าให้ความนิยมของพรรคนี้สั่นคลอน และยิ่งมีโอกาสที่ท�าให้เกิดจุดร่วมและความเหนียวแน่น

             กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวิจารณ์กลับ หรือการเพิกเฉย
   496   497   498   499   500   501   502   503   504   505   506