Page 505 - kpiebook63010
P. 505
504 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
และจะประกาศผลเลือกตั้งไม่เกิน 9 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นการเลื่อนเลือกตั้งครั้งที่ 5 จากวันที่ 24 กุมภาพันธ์
2562 เป็นวันที่ 24 มีนาคม แทน (พลวุฒ สงสกุล, 2562)
นับจากการท�ารัฐประหารในห้วงเวลาวิกฤติทางการเมืองที่การเลือกตั้งเป็นโมฆะเนื่องมาจากการชุมนุม
ประท้วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและการคัดค้านการจัดให้มีการเลือกตั้งของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 อาจกล่าวได้ว่าการเกิดจ�านวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกนั้นมีจ�านวนมากขึ้น
เป็นประวัติการณ์ เพราะต้องนับจากหลังปี พ.ศ. 2554 ที่เป็นการเลือกตั้งครั้งหลังสุดที่ประสบความส�าเร็จ
จะพบว่าจ�านวนประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้มีโอกาสใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกจะมีอายุประมาณ 26 ปี
ด้วยช่วงเวลาที่ไม่มีการเลือกตั้งมาจนปี พ.ศ. 2562 นั้นมีประมาณ 8 ปีหรือนับโดยประมาณก็คือการเลือกตั้ง
ที่ควรจะมีขึ้นในช่วงเวลานี้น่าจะมีขึ้น 2 ครั้งแล้วหากสภานั้นครบวาระ
ประเด็นที่ต้องการน�าเสนอนั้นไม่ใช่เรื่องของระยะเวลาที่การเลือกตั้งนั้นถูกเว้นวรรคไปจาก
การเมืองไทยเป็นเวลานานกว่าปรกติถึงประมาณ 2 เท่า หรือเพราะว่ามีจ�านวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก
จ�านวนมากเท่านั้น แต่ความส�าคัญก็คือโครงสร้างโอกาสทางการเมืองที่ปิดมาจากการท�ารัฐประหารนั้นได้สร้าง
ข้อจ�ากัดมากมายในเรื่องของสิทธิเสรีภาพทางการเมือง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิเสรีภาพ
ของสื่อมวลชน และสิทธิมนุษยชน จนท�าให้จ�านวนคนที่เป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกนั้นมีประสบการณ์ทางเมือง
ในลักษณะที่ตัดขาดจากวิถีชีวิตในสังคมประชาธิปไตยมาเป็นเวลายาวนาน มิพักต้องกล่าวถึงการจับกุม
ด�าเนินคดี และกดดัน/ปรับทัศนคติ/พูดคุยท�าความเข้าใจกับฝ่ายที่เห็นต่างจากคณะรัฐประหารด้วยข้อหาการขัดค�าสั่ง
คณะรัฐประหาร ตั้งแต่นักการเมือง แกนน�ามวลชน นักวิชาการ นักกิจกรรมนักศึกษา ด้วยกระบวนการที่ไม่ใช่
กระบวนการยุติธรรมในสภาวะปกติ อาทิ การประกาศรายชื่อบุคคลที่ต้องเข้ารายงานตัว โดยในช่วงแรกเป็นการ
ประกาศเรียกผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุ แต่ในระยะหลัง คสช. ได้เปลี่ยนวิธีการด�าเนินการ เช่น การไปพบ
ผู้เห็นต่างที่บ้าน นัดเจอตัวในที่สาธารณะแทนการเรียกตัวไปค่ายทหาร โดยสถิติผู้เห็นต่างที่ถูกเรียกเข้าค่าย
ทหารหรือมีเจ้าหน้าที่มาที่บ้าน อย่างน้อย 1,349 คน ซึ่งเป็นสถิติรวมถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (iLaw, 2562จ)
ประสบการณ์ของการอยู่ในสภาพร้างอ�านาจยังปรากฏให้เห็นและสัมผัสได้เมื่อปี พ.ศ. 2559
เมื่อมีการท�าประชามติรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่เห็นกระบวนการความใกล้ชิดของเจตจ�านง
ของกลุ่มชนชั้นน�าทางอ�านาจที่ถูกถ่ายทอดลงไปในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งดังที่ได้อภิปรายไปแล้วในส่วนอื่น ๆ
กอปรกับสภาวะการรณรงค์ทางการเมืองในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เสรี (iLaw, 2562ก) (และต้อง
ไม่ลืมว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2 ภายหลังการยึดอ�านาจ ภายหลังจากการที่ร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับแรกนั้นไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558 ด้วยคะแนน 135
ต่อ 105 เสียง และงดออกเสียง 7 คน) (iLaw, 2562ญ)
ภายหลังจากร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ และ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 เมษายน
พ.ศ. 2560 จะเห็นว่ามีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีกหลายครั้งด้วยเหตุผลและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป
และท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่มีความชัดเจนในการก�าหนดวันเลือกตั้งและเหมือนจะมีความพยายาม