Page 506 - kpiebook63010
P. 506

505








                  เลื่อนการเลือกตั้งออกไปเรื่อย ๆ แม้ทาง คสช.จะอ้างเหตุผลว่าทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยนั้น

                  “ยังอยู่ในโรดแมป” ของทาง คสช. ก็ปรากฏการณ์เคลื่อนไหวของกลุ่มกิจกรรมใหม่ที่เน้นไปที่เรื่องของการเรียกร้อง
                  ให้มีการจัดการเลือกตั้ง ในนามของ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ซึ่งส่วนหนึ่งประกอบด้วยการรวมตัวของกลุ่มกิจกรรม

                  และนักกิจกรรมที่เคยเคลื่อนไหวและถูกด�าเนินคดีมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 อาทิ
                  นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์หรือที่รู้จักกันในนามจ่านิว นายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ นายอานนท์ น�าภา นายสุกฤษฏิ์

                  เพียรสุวรรณ น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา และกลุ่มฟิ้นฟูประชาธิปไตยใหม่ (Democracy Restoration Group-DRG)
                  ที่มี น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว นายรังสิมันต์ โรม เป็นสมาชิกกลุ่ม ร่วมกันเคลื่อนไหวในครั้งนั้น (ณพัทธ์ นรังศิยา, 2561)


                          จากการไล่เรียงเหตุการณ์และบรรยากาศทางการเมืองตั้งแต่วิกฤติทางการเมืองของรัฐบาลนางสาว

                  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไล่เรียงมาจนถึงบรรยากาศก่อนการประกาศวันเลือกตั้ง จะพบว่าการปกครองประเทศของ คสช.
                  นั้นผิดไปจากธรรมเนียมร่วมสมัยของการท�ารัฐประหารและการคืนอ�านาจและคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชน

                  ในช่วงหลัง โดยเฉพาะนับตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ที่คณะรัฐประหารนับจากนั้นจะกลับสู่
                  ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งไม่เกินสามปี ไม่ว่าจะการท�ารัฐประหารเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งหลังจากนั้น

                  จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 การท�ารัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
                  และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535  แม้กระทั่งการท�ารัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549

                  ซึ่งก็จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญภายในหนึ่งปี และให้มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 การเว้น
                  ระยะเวลาที่ยาวนานจึงท�าให้พลเอกประยุทธ์นั้นเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการท�ารัฐประหารที่อยู่ในอ�านาจ

                  ยาวนานเป็นอันดับสองรองลงมาจากจอมพลถนอม กิตติขจร โดยพลเอกประยุทธ์อยู่ในต�าแหน่งหัวหน้าคณะ
                  รัฐประหารและต่อมานายกรัฐมนตรีสมัยแรกเป็นเวลาประมาณ 5 ปี 19 วัน ตั้งแต่วันที่ท�ารัฐประหารเมื่อ

                  22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
                  แต่งตั้งพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี (ประยุทธ์สมัยที่ 2) ขณะที่จอมพลถนอม กิตติขจรอยู่ในต�าแหน่ง

                  หัวหน้าคณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีในช่วงสืบต่อจากจอมพลสฤษดิ์ที่เสียชีวิต เป็นเวลาประมาณ 5 ปี
                  89 วัน (ช่วงถนอมสมัยที่ 2) และอีกประมาณ 1 ปี 332 วัน ตั้งแต่ท�ารัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน

                  พ.ศ. 2514 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (ช่วงถนอมสมัยที่ 4)

                          การอยู่ในอ�านาจที่ยาวนาน ท่ามกลางการสะสมความไม่พอใจของประชาชนจ�านวนมากทั้งในส่วน

                  ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีจ�านวนสะสมเพื่มขึ้นมาเรื่อย ๆ รวมทั้งจากประชาชนที่ถูกพรากสิทธิจากการ

                  เลือกตั้งที่เป็นโมฆะเนื่องจากมีขบวนการทางการเมืองที่พยายามสกัดกั้นการใช้สิทธิการเลือกตั้งของประชาชนใน
                  หลายพื้นที่จนท�าให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะนั้น รวมทั้งคะแนนความนิยมของพลเอกประยุทธ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
                  น่าจะเป็นส่วนส�าคัญที่ท�าให้การก่อก�าเนิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่เป็นหนึ่งในทางเลือกของประชาชน ที่จะ

                  แสดงออกถึงความไม่พอใจต่อระบบการเมืองที่เป็นอยู่ และจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สมาชิกของพรรคโดน

                  เฉพาะในระดับน�านั้นจะมีความกล้าหาญในการวิพากษ์วิจารณ์การท�างานของ คสช.มาโดยตลอดนับตั้งแต่การตั้ง
                  พรรค(หรือตั้งแต่ก่อนมารวมตัวกันเป็นพรรค) แม้กระทั่งในช่วงเวลาที่บรรยากาศทางการเมืองนั้นยังไม่เปิดกว้าง
                  หรือเข้าสู่ห้วงเวลาของการเลือกตั้งอย่างเต็มตัว
   501   502   503   504   505   506   507   508   509   510   511