Page 510 - kpiebook63010
P. 510
509
หรือนายเอกฤทธิเจียกขจร เคยเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ก. เขตลาดกระบัง พรรคชาติไทย พ.ศ. 2549 แต่กรณีของ
เอกฤทธินั้นเคยลงสมัครการเมืองระดับชาติอีกด้วย คือ เคยลงสมัคร ส.ส. เขต 7 บางกะปิ สะพานสูง มีนบุรี
และลาดกระบัง พรรคชาติไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 (เอกฤทธิ เจียกขจร กลุ่ม ลาดกระบัง พัฒนา, 2562)
และเคยลงสมัคร ส.ส. เขต 18 คลองสามวา ในนามพรรคชาติไทยพัฒนา ปี พ.ศ. 2554 (ส�านักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจ�ากรุงเทพมหานคร, 2554) แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งทั้งสองครั้ง
ประการต่อมาก็คือ แม้ว่าอนาคตใหม่จะได้ที่นั่งเพียง 9 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร เท่ากับเพื่อไทย
และน้อยกว่าพลังประชารัฐที่มี 12 ที่นั่ง แต่คะแนนรวมของอนาคตใหม่ในทุก ๆ เขตนั้นกลับเป็นที่หนึ่ง
คือ 840,272 คิดเป็นร้อยละ 24.70 ของผู้มาใช้สิทธิ ขณะที่พลังประชารัฐมีคะแนน 791,893 คิดเป็นร้อยละ
24.32 ของผู้มาใช้สิทธิ เพื่อไทยมีคะแนน 604,699 คิดเป็นร้อยละ 18.57 ของผู้มาใช้สิทธิและ ประชาธิปัตย์
มีคะแนน 474,820 คิดเป็นร้อยละ 14.58 ของผู้มาใช้สิทธิ
โดยสัดส่วนของอาชีพและภูมิหลังของผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร จะพบว่า
ผู้สมัครในกรุงเทพมหานครของพรรคอนาคตใหม่นั้นมีภูมิหลังมาจาก 4 กลุ่ม (ซึ่งบางคนอาจจะเคยมีภูมิหลัง
มามากกว่า 1 กลุ่ม เช่น นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ เขต 21 ที่เคยท�างานทั้งภาครัฐและเอกชน และคนอื่น ๆ)
1. ผู้ประกอบการหรือท�าธุรกิจส่วนตัว มีจ�านวน 17 คน ผู้ชนะ 9 คนมาจากกลุ่มนี้ 5 คน
2. พนักงานบริษัทเอกชน มีจ�านวน 6 คน ผู้ชนะ 9 คนมาจากกลุ่มนี้ 2 คน
3. ข้าราชการหรือท�างานภาครัฐ มีจ�านวน 6 คน ผู้ชนะ 9 คนมาจากกลุ่มนี้ 2 คน
4. นักกฎหมายหรือทนายความ มีจ�านวน 2 คน ผู้ชนะ 9 คนมาจากกลุ่มนี้ 1 คน
5. อื่น ๆ มีจ�านวน 3 คน ผู้ชนะ 9 คนมาจากกลุ่มนี้ 0 คน
พรรคอนาคตใหม่มีผู้สมัครในเขตกรุงเทพมหานครที่มีพื้นฐานจากนักวิชาการ (แต่ไม่ใช่อาจารย์ประจ�า)
3 คน คือ นายกรณ์ จตุวิมล เขต 4 อาจารย์พิเศษที่ School of Music มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (กรณ์ จตุวิมล
พรรคอนาคคตใหม่ คลองเตย-วัฒนา เบอร์ 2, 2562) นายคริส โปตระนันท์ เขต 6 อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ
ด้านกฎหมาย (PPTVHD36, 2562ง) และนายกันตพงษ์ ประยูรศักดิ์ เขต 26 ที่ลงประวัติอาชีพว่าเป็นอาจารย์
คู่กับวิทยากร (ส�านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ�ากรุงเทพมหานคร, 2562ง)
ส่วนผู้สมัครที่มีพื้นฐานในเครือข่ายงานเคลื่อนไหวแบบประชาสังคมมี 2 คน คือ นายอดิศร โพธิ์อ่าน
เขต 5 ซึ่งมีประสบการณ์ในองค์กรเคลื่อนไหวเกี่ยวกับแรงงาน (อดิศร โพธิ์อ่าน, 2562) และอีกกรณีที่อาจนับได้
คือ นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร เขต 22 ที่เคยท�าเบียร์ และถูกต�ารวจสรรพสามิตและต�ารวจนนทบุรีจับกุมตัว
ในเวลาต่อมามีการรณรงค์เพื่อลงชื่อใน www.change.org โดยเรียกร้องให้คราฟต์เบียร์ไทยถูกกฎหมาย
(มติชนออนไลน์, 2560ข)