Page 515 - kpiebook63010
P. 515

514      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                     จากการสัมภาษณ์ทีมบริหารของพรรค พบว่าแม้พรรคฯ จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้คน

             ที่หลากหลาย แต่เหตุผลหนึ่งที่เกิดข้อสงสัยในชื่อเสียงและภูมิหลังของผู้สมัครว่าเป็นใครมาจากไหน
             นั้นเกิดจากในช่วงเวลาของการเปิดรับสมัครนั้น พรรคฯ ยังไม่มีชื่อเสียงมากนักเพราะเป็นพรรคใหม่

             กอปรกับเวลาในการเปิดรับสมัครนั้นก็มีไม่มากนัก ผู้ที่เข้ามาสมัครจึงมีจ�านวนไม่มากนัก ความนิยมในพรรคเอง
             ก็เริ่มมีมาเพิ่มขึ้นในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งได้ไม่นาน




                     2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อไทย ไทยรักษาชาติ และ อนาคตใหม่


                     การวิเคราะห์คะแนนของอนาคตใหม่ก่อนการเลือกตั้งมีการท�านายว่า พรรคอนาคตใหม่เป็นอีกพรรค
             ที่มาสร้างให้เกิดทางเลือกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะเป็นคะแนน

             “สวิงโหวต” ในความหมายว่าเป็นคะแนนที่เทให้กับพรรคพลังประชารัฐ หรือ พรรคอนาคตใหม่ ทั้งสองเป็น
             พรรคใหม่ และเป็นทางเลือกให้กับคนรุ่นใหม่ (ประชาชาติธุรกิจ, 2562ฉ) หรือมีการท�านายว่า คะแนนสวิง

             ที่มาจากผู้เลือกตั้งนีจะสวิงไปให้พรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบ ท�าให้ประชาชน
             ตัดสินใจง่ายขึ้น เเละด้วยสถานการณ์ที่พรรคเพื่อไทยตกเป็นรอง เพราะเขตเลือกตั้งเว้นว่าง จึงท�าให้คะแนนเสียง

             เทไปให้พรรคอนาคตใหม่ (สยามรัฐออนไลน์, 2562ค) จากที่พิจารณาจากข้อมูลคะแนนจะพบว่าไม่ใช่เรื่องที่จะ
             สามารถฟันธงไปได้ในลักษณะของความสัมพันธ์ในแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน (casual) หรืออธิบายง่าย ๆ ว่า

             เพราะมีอนาคตใหม่ จึงท�าให้เพื่อไทยแพ้ในหลายเขต เพราะการวิเคราะห์แบบนี้ไม่ให้ความส�าคัญกับพัฒนาการ
             ในรอบ 8 ปีที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกจ�านวนมากตามที่ได้น�าเสนอไปแล้ว ซึ่งไม่มีหลักประกันใด ๆ ว่า

             คนเหล่านั้นจะเลือกพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้


                     นอกจากนี้ การน�าเสนอนโยบายของพรรคเพื่อไทยทั้งในระดับชาติและในระดับกรุงเทพมหานคร
             ก็ไม่ได้ให้ความส�าคัญกับคนรุ่นใหม่เป็นพิเศษ ด้วยเน้นไปที่การเสนอนโยบายเศรษฐกิจระดับประเทศ ส่วนนโยบาย

             ของทุกพรรคในเขต กทม. นั้น ก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก และไม่ได้มีการพูดถึงในสื่อและโลกโซเชียลในวงกว้าง
             มีเพียงภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของ ของผู้สมัครบางคน อาทิ นายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส ผู้สมัครจากเพื่อไทย

             ในเขต 13 (บางกะปิ วังทองหลางเฉพาะแขวงพลับพลา) ที่เป็นคู่แข่งกับ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ จากพรรคประชาธิปัตย์
             การมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคช่วยหาเสียง และการลงมาช่วยหาเสียง

             ของ นาวสาวยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ (น้องจินนี่) บุตรสาวของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค
             และหนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคช่วยหาเสียง นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยเองก็ไม่ได้มีนโยบายหาเสียง

             ทางการเมืองในแบบที่เน้นการวิพากษ์วิจารณ์ คสช. ในทางการเมืองโดยตรง ท่าทีของการวิพากษ์วิจารณ์มักจะ
             เชื่อมโยงไปที่เรื่องของความ(ไร้)ความสามารถทางเศรษฐกิจเสียมากกว่า


                     นอกจากนั้น พรรคประชาธิปัตย์เองก็มีกลุ่มนิวเด็ม (New Dem) ที่น�าโดย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ

             และนายคณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ ที่เน้นส่งคนรุ่นใหม่ลงสมัครทั้งในพื้นที่และบัญชีรายชื่อ แต่จุดยืนของนิวเด็ม
             ไม่ได้เน้นการวิพากษ์วิจารณ์ คสช. โดยตรง
   510   511   512   513   514   515   516   517   518   519   520