Page 488 - kpiebook63010
P. 488
487
จากการวิเคราะห์และข้อมูลทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า พรรคพลังประชารัฐนั้นเป็นพรรคที่มีส่วนผสม
ของ นักการเมืองเก่า นักวิชาการ และ นักธุรกิจ ซึ่งทั้งสามกลุ่มนี้มักจะมีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองมาก่อน
ในแง่ของการเป็นที่ปรึกษาในรัฐสภา รวมทั้งผู้สมัครในส่วนนอกเหนือจากเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่นนั้น
มักมีลักษณะเป็นชนชั้นน�าใหม่ (มากกว่าคนรุ่นใหม่) ที่เชื่อมโยงกับคณะกรรมการบริหารของพรรค
อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าหัวใจส�าคัญของชัยชนะของพรรคพลังประชารัฐในกรุงเทพมหานครในรอบนี้ คือ
เครือข่ายนักการเมืองในระดับเขตที่เชื่อมโยงกันผ่านการประสานงานของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ประธานยุทธศาสตร์
กรุงเทพมหานครของพรรคพลังประชารัฐ โดยนายพุทธิพงษ์เป็นอดีตนักการเมืองที่คร�่าหวดในกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเติบโตมาจากการเป็นผู้แทนราษฎรในเขต 4 พญาไท จากพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อการเลือกตั้งใหม่ในวันที่
3 มีนาคม พ.ศ. 2545 อันเป็นผลมาจากการเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 จากนั้นมานายพุทธิพงษ์ได้รับแต่งตั้ง
จากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ด�ารงต�าแหน่ง โฆษกกรุงเทพมหานคร และต่อมา
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลงานด้านการศึกษาและพัฒนาสังคม กีฬา การท่องเที่ยว
และด้านการพานิชย์ของกรุงเทพมหานคร
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ออกจากการเมืองในระดับกรุงเทพมหานครเข้าสู่การเมืองระดับชาติอีกครั้ง
ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ด�ารงต�าแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจ�ากระทรวงอุตสาหกรรม
และรองโฆษกประจ�าส�านักนายกรัฐมนตรี ควบคู่กับการด�ารงต�าแหน่ง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายพุทธิพงษ์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
เขต 7 (เขตห้วยขวาง) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ในปี พ.ศ. 2556 นายพุทธิพงษ์เข้าร่วมเป็นแกนน�า กปปส. และมีบทบาทส�าคัญอย่างยิ่งในการชุมนุม
ต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร จนได้ฉายาว่าเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือของ กปปส. ซึ่งได้แก่ นายพุทธิพงษ์
ปุณณกันต์ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นายสกลธี ภัททิยกุล และนายชุมพล จุลใส ทั้งสี่คนนี้เป็น ส.ส.ของพรรค
ประชาธิปัตย์ และ นายพุทธิพงษ์ นายณัฏฐพล เป็น ส.ส. ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2554
เขต 7 ห้วยขวาง และ เขต 26 ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุตามล�าดับ ขณะที่นายสกลธีนั้นไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้น
เพราะแพ้ให้กับนายนายสุรชาติ เทียนทอง จากพรรคเพื่อไทยในเขต 11 หลักสี่ ดอนเมือง ทั้งที่บางส่วนของพื้นที่นั้น
เป็นเขตที่นายสกลธีเคยชนะมาก่อนคือ เขต 4 จตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ คู่กับนายบุญยอด สุขถิ่นไทย และนายอรรถวิชช์
สุวรรณภักดี เมื่อปี พ.ศ.2550
ในปี พ.ศ. 2561 นายพุทธิพงษ์ได้เข้าร่วมงานในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) และในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจ�า
ส�านักนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งก่อนการเลือกตั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นายพุทธิพงษ์ ได้ลาออก
เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อในล�าดับที่ 3 ขณะที่นายณัฏฐพล
ทีปสุวรรณ อยู่ในล�าดับที่ 1 ส่วนนายสกลธีนั้นไม่ได้เข้าร่วมกับรัฐบาล คสช. โดยตรงและไม่มีส่วนโดยตรงกับ
การเลือกตั้งในรอบนี้ เพราะได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่ากรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561