Page 19 - kpiebook63008
P. 19
19
ขอบเขตกำรวิจัย
1. ขอบเขตด้ำนเวลำ
เป็นการศึกษานับจากช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงเวลาระหว่างการมีพระราชกฤษฏีกากำาหนดให้มี
การเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือนภายหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผล
การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
2. ขอบเขตด้ำนประชำกร
สำาหรับประชารในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน
องค์กรอิสระ องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและระดับเขต
จังหวัดกาญจนบุรี ตลอดจนความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
3. ขอบเขตด้ำนพื้นที่
ในการวิจัยครั้งนี้กำาหนดพื้นที่ครอบคลุมทุกพื้นที่เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ
จังหวัดกาญจนบุรี
4. ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ
สำาหรับขอบเขตด้านเนื้อหาในการศึกษา ประกอบด้วย พฤติกรรมการเลือกตั้ง การใช้เงินในการ
หาเสียงเลือกตั้ง การตั้งมั่นในความเป็นพรรคการเมือง รายละเอียดมีดังนี้
4.1 ด้านพฤติกรรมการเลือกตั้ง
เน้นการศึกษาเปรียบเทียบในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความเหมือนหรือความแตกต่าง
จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรีที่ผ่านมา การและปลี่ยนแปลง
ในประเด็นที่สำาคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ผลกระทบที่มีความสำาคัญในการพัฒนา
ประชาธิปไตย และการศึกษาความแตกต่างหลากหลายของผู้สมัครรับเลือกตั้งในมิติ
ด้านเพศ ชาติพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ (พิการ) และการทำางานในพื้นที่ รวมถึงการแข่งขัน
ทางการเมืองทั้งในส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง กลยุทธ์
วิธีการ การนำาเสนอนโยบาย ตลอดจนการในกรณีดังกล่าวที่มิได้ปรากฏหรือปิดบังอยู่ เช่น
การซื้อเสียง การใช้อิทธิพลของหน่วยงาน การแทรกแซงด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น