Page 17 - kpiebook63008
P. 17

17









                  พื้นที่เดิม ซึ่งได้ทำาการเรียกร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้มีการทบทวนการจัดแบ่งพื้นที่เลือกตั้ง

                  ดังกล่าว แต่ กกต. มิได้ดำาเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยนายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ตั้งข้อสังเกตว่า
                  การจัดแบ่งพื้นที่เขต 2 ใหม่นั้น กกต.มิได้รวมพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย ตำาบล

                  หนองกุ่ม อำาเภอบ่อพลอย และตำาบลหนองโรง ตำาบลทุ่งสมอ ตำาบลดอนเจดีย์ และตำาบลหนองสาหร่าย อำาเภอ
                  พนมทวนด้วย ทำาให้เขตเลือกตั้งที่ 2 มีจำานวนประชากรเพียง 142,000 คน น้อยกว่าพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1

                  ราว 55,000 คน และพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3 ราว 47,000 คน โดยทำาให้อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
                  และบุคคลที่มีชื่อเสียงในฐานะนักการเมืองพื้นที่ที่ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ประกอบด้วย

                                   1
                  นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ  และนายธรรมวิชย์ โพธิพิพิธ มีความได้เปรียบในการเลือกตั้ง (โพสต์ทูเดย์ออนไลน์, 2560)

                          สำาหรับการศึกษาการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งและพฤติกรรมทางการเมืองทั้งจากประชาชน ผู้ลงสมัครรับ
                  เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏี (ส.ส.) และพรรคการเมืองที่สังกัดในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี คณะผู้วิจัยมีเป้าหมาย

                  สำาคัญในการศึกษาเพื่อทำาความเข้าใจในพฤติกรรมการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกนักการเมือง ปัจจัย
                  ที่มีผลต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะปัจจัยด้านการใช้จ่ายเงินหาเสียง กลุ่มหัวคะแนน อิทธิพลหรือปัจจัยจากผู้นำา

                  ท้องที่ กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือสมาชิกสภาและผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานองค์กรของรัฐ
                  ที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง การติดตามพฤติกรรม การควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม

                  กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด ในการศึกษาดังกล่าวนี้จะทำาให้ทราบถึงสิ่งที่เกิดในการเลือกตั้งปี 2562
                  และสามารถนำามาใช้ประโยชน์ในการพิจารณาเพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการเลือกตั้งให้ดีขึ้นได้ในอนาคต






                  วัตถุประสงค์กำรวิจัย




                          •  เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง ความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มการเมือง

                              ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี


                          •  เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
                              ราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี


                          •  เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะและองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามา

                              มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี


                          •  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน
                              และกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี




                  1   ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) (ชุดที่ 23) ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22