Page 16 - kpiebook63008
P. 16

16      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







                      อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองไทย นับว่ามีความเงื่อนไขและสถานการณ์ที่ซับซ้อน

             ไม่น้อย ด้วยมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่นำามาสู่การปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการตั้งหลายครั้ง อัน
             เป็นผลมาจากสถานการณ์การเมืองในการเปลี่ยนแปลงหรือที่มิได้เป็นไปตามกฎกติกาที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

             การล้มล้างรัฐธรรมนูญและการสร้างรัฐธรรมนูญจำานวนมากกว่า 10 ฉบับ และการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
             แต่ละครั้งก็มักทำาให้ต้องมีการดำาเนินการจัดระบบการเลือกตั้งใหม่ ทั้งการแบ่งเขตพื้นที่เลือกตั้ง จำานวนและ

             ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือแม้แต่จำานวนและที่มาของวุฒิสภา (ส.ว.) ผลของการเปลี่ยนแปลง
             ดังกล่าวทำาให้บรรดานักการเมืองหรือผู้ที่ต้องการเสนอตัวให้ประชาชนเลือกเพื่อเป็นตัวแทนในฐานะนักการเมือง

             ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการทำางานการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งในพื้นที่ค่อนข้างมาก กรณีดังกล่าวข้างต้นหาก
             พิจารณาการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2562 ย่อมทำาให้สามารถอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในระบบการเลือกตั้ง

             ได้ว่า เมื่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งมีการเปลี่ยนในเนื้อหาสาระสำาคัญ
             ที่แตกต่างออกไปจากการเลือกตั้งครั้งก่อน ๆ


                      การเลือกตั้ง  6 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายก่อนการทำารัฐประหารของคณะรักษา

             ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนำาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือนพฤษภาคม 2557
             พรรคประชาธิปัตย์ประสบชัยชนะในการเลือกตั้งมากที่สุดได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 3 คน ประกอบด้วย

             เขต 2 นายฉัตรพันธ์ ธนะกิจเดชสุนทร ได้ 44,540 คะแนน ชนะ พลตรีศรชัย มนตรีวัต พรรคเพื่อไทยซึ่งได้
             24,346 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 4 นายประชา โพธิพิพิธ ได้ 41,448 คะแนน ชนะ นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร

             พรรคเพื่อไทยซึ่งได้ 39,413 คะแนน และเขตเลือกตั้งที่ 5 นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ได้ 24,919 คะแนน ชนะ
             นายวิฑิต มาไพศาลลิน พรรคเพื่อไทยซึ่งได้ 17,746 คะแนน ในขณะที่พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. จำานวน 2 คนในเขต

             เลือกตั้งที่ 1 คือพลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ ได้ 33,501 คะแนน ชนะ นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
             ซึ่งได้ 33,332 คะแนน และ เขตเลือกตั้งที่ 3 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ ได้ 43,546 คะแนน ชนะ นายปารเมศ โพธารากุล

             พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้ 33,447 คะแนน (สุวิชา วรวิเชียรวงษ์ และณัฐพงศ์ บุญเหลือ, 2560, หน้า 318-321)
             อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พลเอกสมชาย พิษณุวงษ์ นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ และ

             นายธรรมวิชย์ โพธิพิพิธ ซึ่งเป็นกลุ่มนักการเมืองหรือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีบทบาทสำาคัญในพื้นที่พร้อมทั้ง
             มีโอกาสสูงที่จะชนะการเลือกตั้งได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ (หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, 2561)


                      ในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ปี 2562 ดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ดำาเนินการ

             เปลี่ยนแปลงพื้นที่เลือกตั้งของจังหวัดกาญจนบุรีใหม่โดยแบ่งออกเป็น 5 เขตเลือกตั้ง มีจำานวน ส.ส. 5 คน
             ดังนี้ เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย อำาเภอเมืองกาญจนบุรี และอำาเภอศรีสวัสดิ์ เขตเลือกตั้งที่ 2 อำาเภอท่าม่วง
             อำาเภอด่านมะขามเตี้ย เขตเลือกตั้งที่ 3 อำาเภอท่ามะกา และอำาเภอพนมทวน เขตเลือกตั้งที่ 4 อำาเภอเลาขวัญ

             อำาเภอห้วยกระเจา อำาเภอหนองปรือ และอำาเภอบ่อพลอย เขตเลือกตั้งที่ 3 อำาเภอทองผาภูมิ อำาเภอสังขละบุรี

             และอำาเภอไทยโยค (ราชกิจจานุเบกษา 2561, หน้า 31-32) การจัดพื้นที่เลือกตั้งใหม่ดังกล่าวได้ส่งผลต่อฐาน
             เสียงหรือกลุ่มผู้สนับสนุนของนักการเมืองที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคะแนนผลการเลือกตั้ง เช่น พื้นที่เขต
             เลือกตั้งที่ 2 ที่มีนายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเจ้าของ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21