Page 18 - kpiebook63008
P. 18
18 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
• เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร
รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
• เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
กรอบแนวคิดกำรวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งอธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการตัดสินใจลงคะแนนเสียง
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะนักการเมือง และในฐานะตัวแทนของพรรคการเมืองมีความสัมพันธ์
กับค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม จารีตประเพณี รวมถึงความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างทางสังคม และบริบท
ทางสังคมหรือชุมชน ในขณะเดียวกันแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อและความเข้าใจในทางการเมืองของประชาชน
ก็มิได้หยุดนิ่งตายตัว หากแต่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การตัดสินใจภายใต้ความต้องการในผลประโยชน์สูงสุดของตน
(maximization) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนอำานาจที่มีอยู่ในฐานะผู้ซื้อหรือผู้บริโภค (customer) โดยมี
นักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการด้วยการเสนอนโยบายสาธารณะ (public
policy) ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินในเลือกในการช่วงเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมุ่งอธิบายการ
เปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองจังหวัดกาญจนบุรีในการหาเสียงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ในการเลือกตั้ง โดยใช้กรอบความคิดวัฒนธรรมการเมืองไทย ระบบอุปถัมภ์ โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำานาจ
การสื่อสารทางการเมือง การตลาดการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฏีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล
(rational choice) โดยนำามาจากคำาอธิบายของไชยยันต์ ไชยพร เรื่องจอน เอลสเตอร์ กับทฤษฏีการเลือกอย่าง
เป็นเหตุเป็นผล และคำาอธิบายเรื่องทฤษฏีการตัดสินเลือกของส่วนรวม (public choice theory) ของอนุสรณ์
ลิ่มมณี เพื่ออธิบายปรากฏการณ์การเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรีปี 2562