Page 15 - kpiebook63008
P. 15

15






                  บทที่ 1





                  บทน�ำ


























                  ควำมส�ำคัญของปัญหำ




                          การเลือกตั้งนับเป็นหนึ่งในกระบวนการหรือขั้นตอนของประชาธิปไตย ด้วยเป็นการดำาเนินการ

                  ภายใต้หลักการพื้นฐานอันสำาคัญคือ การแสดงให้เห็นถึงอำานาจทางการเมืองเป็นของประชาชน ในการทื่จะทำา
                  การตัดสินใจเลือกนักการเมือง พรรคการเมือง ให้เข้ามาเป็นตัวแทนเพื่อรับผิดชอบในทางการเมือง ทั้งฝ่ายบริหาร

                  และฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งในฐานะรัฐบาลและฝ่ายค้าน การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการและขั้นตอนที่สำาคัญที่เกี่ยวข้อง
                  กับความชอบธรรมทางการเมือง (political legitimacy) ในการเข้าสู่อำานาจทางการเมืองของนักการเมืองและ

                  พรรคการเมือง เพื่อใช้อำานาจในการกำาหนดนโยบาย (policy) และกำากับ ติดตามการนำานโยบายไปสู่การปฏิบัติ
                  (policy implementation) โดยมีองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองท้องถิ่น

                  รวมถึงองค์กรอิสระเป็นเครื่องมือในการดำาเนินการหรือปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการดำาเนินการในหลักการเสียงข้างมาก
                  (majority) หรือเสียงส่วนใหญ่ที่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจเลือกนักการเมืองที่เป็นผู้เสนอตัวลงสมัครรับเลือกตั้ง

                  ความสำาคัญในการเลือกตั้งอันเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำาคัญดังกล่าวนี้ เป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐาน
                  สำาคัญของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน (representative democracy) ซึ่งเป็นรูปแบบการเมืองที่ได้รับ

                  การยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ไม่ว่าจะมีข้อถกเถียงมากน้อยเพียงใดถึงจุดอ่อน
                  หรือข้อเสียในระบบการเมืองแบบเลือกผู้แทน หากแต่ถึงที่สุดแล้วก็นับได้ว่ามีข้อเสียหรือจุดอ่อนน้อยที่สุด

                  เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการเมืองอื่น ๆ เพราะนักเมืองที่ผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนย่อมต้องทำาหน้าที่
                  ของตนเองที่กำาหนดไว้ในกฎหมาย รวมถึงตระหนักถึงคะแนนเสียงของประชาชนที่เลือกหรือสนับสนุนตนเอง

                  จนได้ก้าวเข้ามาทำาหน้าที่ทางการเมือง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20