Page 21 - kpiebook63008
P. 21
21
4.3.4 การดำาเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติของพรรคการเมือง มีผลทำาให้นโยบาย
ของแต่ละพรรคในเขตพื้นที่เลือกตั้งมีความแตกต่างกันหรือไม่ ในขณะเดียวกัน นโยบาย
ของพรรคที่แตกต่างกัน มีอิทธิต่อการลงสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครลงคะแนนเสียงหรือไม่
หากเปรียบเทียบกับปัจจัยด้านตัวบุคคลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นโยบายพรรคหรือตัวบุคคล
มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกกว่ากัน
4.4.4 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีมีผลที่ทำาให้ผู้ลงคะแนน
เสียงเลือกตั้ง มีความนิยมหรือความผูกผันต่อพรรคการเมืองต่างไปจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
หรือไม่อย่างไร โดยที่จากการเลือกตั้งในปี 2554 หรือ 8 ปีที่ผ่านมา ความเป็นพรรคการเมือง
หรือความนิยมในพรรคการเมืองยังสามารถฝังรากลึกในสังคมได้หรือไม่ ด้วยเหตุผลใด
วิธีกำรศึกษำวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นเครื่องมือสำาคัญในการศึกษา ประกอบด้วย
1. กำรศึกษำเอกสำรต่ำง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1.1 กรอบของกฎหมาย ได้แก่ ขั้นตอนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยพุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ.2560
อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง และบทบาทของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
1.2 ข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมือง
ที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งในปัจจุบัน การเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายนักการเมืองเก่าทั้งในระดับชาติและระดับ
ท้องถิ่น และผลการเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้ง ของจังหวัดกาญจนบุรี
2. กำรสัมภำษณ์เชิงลึกในประเด็นต่ำง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยทำาการลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
เก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง บริษัทเอกชนและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ผู้จัดการเลือกตั้ง กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน