Page 111 - kpiebook63008
P. 111
111
ประการที่สอง การเลือกด้วยความต้องการเปลี่ยนแปลงตัว ส.ส. และพรรคการเมืองที่สังกัด เหตุผล
ในการใช้เกณฑ์ดังกล่าวนี้ คนกลุ่มนี้ต้องต้องความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ และต้องการให้ ส.ส.
ทำางานในพื้นที่อย่างจริงจัง มีผลงานในพื้นที่ปรากฏชัด และต้องการสนับสนุนพรรคการเมืองด้วย ดังนั้นหากแม้ว่า
ตนเองจะชื่นชอบ รู้จักมักคุ้นกับผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งได้ลงพื้นที่ทำากิจกรรมอย่างสมำ่าเสมอ แต่เมื่อต้องตัดสินใจเลือก
ก็จำาเป็นต้องเลือกพรรคการเมืองมาเป็นลำาดับแรก ในขณะที่ผู้สมัครฯ เป็นองค์ประกอบในการพิจารณารองลงไป
ประการที่สาม การเลือกจากเหตุผลการมีหัวคะแนน ในการเมืองเชิงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นชุมชน
หมู่บ้านนั้น ระบบหัวคะแนนยังคงเป็นปัจจัยสำาคัญที่มีผลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งนี้มาจากโครงสร้าง
สังคมและเศรษฐกิจภายในชุมชนหมู่บ้านที่ล้วนแต่มีความจำาเป็นต้องพึ่งพาความช่วยหลือหรือไม่ก็การได้รับ
การสนับสนุนจากระบบราชการส่วนภูมิภาค และการปกครองท้องถิ่นทั้งสิ้น เป็นระบบที่ต้องติดต่อประสานงาน
และทำางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด นำามาสู่ความสัมพันธ์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน นอกจากนี้แล้วในข้อเท็จจริง
ความสัมพันธ์ระหว่างราชการกับชาวบ้าน หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างราชการกับองค์กรปกครองท้องถิ่น
ระบบราชการยังคงได้รับการยอมรับในสถานะที่เหนือกว่าชาวบ้านหรือองค์กรปกครองท้องถิ่น “ระบบราชการ
จึงเป็นกลไกสำาคัญ” ในการเลือกตั้งอย่างไม่อาจปฏิเสธ
ประการที่สี่ การเลือกด้วยปัจจัยทางการเงินในการหาเสียง ในแง่นี้เชื่อมโยงมาจากปัจจัยด้าน
“ระบบหัวคะแนน” ดังที่ได้อธิบายข้างต้นแล้ว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มนักเลือกตั้งว่า การจะได้ใจชาวบ้านที่
จะมีผลต่อคะแนนเสียงอย่างแท้จริงนั้น “เงิน” เป็นปัจจัยที่สำาคัญที่สุด แต่ระบบการใช้จ่ายเงินในการหาเสียง
นั้นมีหลากหลายรูปแบบ/วิธี แต่ที่ได้ผลมากที่สุดคือการใช้จ่ายเงินผ่านหมู่บ้านหรือชุมชน ซึ่งต้องใช้หัวคะแนน
เป็นผู้ดำาเนินการ โดยที่หัวคะแนนประจำาหมู่บ้านเป็นที่รู้จักมักคุ้นและได้รับการยอมรับจากคนในหมู่บ้าน
หรือมีกลุ่มเครือข่ายที่ทำางานร่วมกันและไว้วางใจกันจนถึงขั้นที่พร้อมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัคร ส.ส.
เมื่อได้รับการไว้วานและร้องขอจากหัวคะแนนซึ่งเป็นพวกเดียวกัน เพียงแต่การใช้จ่ายเงินนั้นเสมือนการให้
“สินนำ้าใจ” มากกว่าการจะใช้เพื่อการซื้อขายสินค้าอย่างที่มักเข้าใจกันโดยทั่วไป ซึ่งหากเป็นการจ่ายเงิน
เพื่อซื้อเสียงย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะถูกกระแสตีกลับว่าเป็นเสมือนการดูหมิ่นคุณค่าของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
และการจ่ายเงินดังกล่าวก็อาจไม่บรรลุเป้าหมายแต่อย่างใด
ประการที่ห้า การเลือกด้วยเหตุผลอื่น ๆ ด้วยพฤติกรรมการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนนั้น
มีหลากหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ในหลายกรณีของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่สถานการณ์ โดยเฉพาะที่เรียกว่า
“กระแสทางการเมือง” ซึ่งกระแสการเมืองที่กล่าวนี้เกี่ยวข้องกับทั้งตัวผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองที่สังกัด
โดยเฉพาะการหาเสียง และพฤติกรรมทางการเมืองทั้งในอดีตและปัจจุบันของผู้สมัครฯ อีกด้วย ปัจจุบันกระแส
ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนับว่ามีความสำาคัญ ดังนั้นทั้งตัวผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองจึงจำาเป็น
ต้องกำาหนดบทบาทและภาพลักษณ์ทางการเมืองของตนเองให้ชัดว่าจะอยู่ ณ จุดไหนของกระแส ในแง่นี้ภาพข่าว
ที่ปรากฎในสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อโซเชียลมีเดีย สื่อหนังสือพิมพ์ และอื่น ๆ จึงมีความสำาคัญและจำาเป็นสำาหรับการสร้าง
กระแสข่าวและภาพลักษณ์ของผู้สมัคร ส.ส.ฯ