Page 116 - kpiebook63008
P. 116
116 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
นโยบำยของพรรคกับปัจจัยด้ำนตัวบุคคลของผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง: ผลต่อกำรตัดสินใจลงคะแนนของประชำชนในพื้นที่
หากพิจารณาภูมิหลังส่วนตัวหรือปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
กับนโยบายของพรรคการเมืองนั้น สามารถแบ่งประเด็นในการศึกษาได้ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ประกอบด้วย
กลุ่มแรก กลุ่มผู้สมัครที่เป็นตระกูลการเมืองและบุคคลที่มีชื่อเสียงของจังหวัด กลุ่มที่สอง กลุ่มผู้สมัครที่มีภูมิหลัง
เป็นข้าราชการเกษียณ อดีตนักการเมืองท้องถิ่นและผู้นำาท้องถิ่น กลุ่มที่สาม กลุ่มผู้สมัครที่มีภูมิหลังเป็นนัก
กิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหวภาคประชาชน และผู้สนใจการเมืองทั่วไป
กลุ่มแรก กลุ่มผู้สมัครที่เป็นตระกูลการเมืองใหญ่และบุคคลที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ผู้สมัครกลุ่มนี้ได้รับ
ความสนใจจากคนในพื้นที่ค่อนข้างมาก และเป็นที่คาดหมายถึงโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้งมากกว่าผู้สมัครกลุ่มอื่น ๆ
สิ่งที่ทำาให้ได้รับความสนใจมากกว่าผู้สมัครกลุ่มอื่นก็ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำาให้มีความน่าสนใจ รวมถึงความไว้วางใจ
เมื่อต้องเข้าทำาหน้าที่ในฐานะตัวแทนของพวกเขาและมิใช่ในฐานะตัวแทนที่ทำาหน้าที่ในการเมืองท้องถิ่น
หากแต่เป็นความไว้วางใจใน “ขีดความสามารถ” และในฐานะที่ “เป็นหน้าเป็นตาของคนในจังหวัดฯ”
อีกด้วย ดังเช่น วรสุดา สุขารมย์ พรรคไทยรักษาชาติ อัฏฐพล โพธิพิพิธ พรรคพลังประชารัฐ เป็นต้น
กลุ่มที่สอง กลุ่มผู้สมัครที่มีภูมิหลังเป็นข้าราชการเกษียร อดีตนักการเมืองท้องถิ่นและผู้นำาท้องถิ่น
ความสนใจของประชาชนในฐานะผู้มีสิทธิและอำานาจทางการเมืองในการลงคะแนนเสียงนั้น มีมิติของวิธีคิด
ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรมทางการเมืองหรือวัฒนธรรมทางสังคมซึ่งถือเป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้ผู้สมัครฯ
เหล่านี้มีความโดดเด่นจนได้รับความสนใจและความสำาคัญในโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้ง ดังเช่นกรณีของ
พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ พลโททำานุ โพธิ์งาม
กลุ่มที่สาม กลุ่มผู้สมัครที่มีภูมิหลังเป็นนักกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหวภาคประชาชน และผู้สนใจ
การเมืองทั่วไป ผู้สมัครกลุ่มนี้ในช่วงแรกของการหาเสียงไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่มากนัก การ
ทำาให้เกิดความสนใจและเป็นที่รู้จักที่เพิ่มขึ้นหลังจากลงพื้นที่หาเสียงในชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้
ในการลงพื้นที่ว่ามีมากน้อยเพียงใด และเพียงพอหรือไม่ ซึ่งในแง่นี้นับว่าได้สร้างเงื่อนไขอันเป็นข้อจำากัด
ในการทำาความรู้จักกับชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากระยะเวลาการหาเสียงจากประกาศของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง (กกต.) ด้วยผู้สมัครเหล่านี้โดยสภาพความเป็นจริงในการเข้าสู่สนามเลือกตั้ง ส.ส. แล้ว มิได้มี
การวางแผนหรือกำาหนดรูปแบบ วิธีการ กลยุทธ์การหาเสียงล่วงหน้าอย่างเป็นระบบมาก่อน ดังคำาอธิบายดังนี้
“...ก็ไม่เห็นจะลงมาหาเสียงในหมู่บ้านอย่างจริง ๆ จังๆ สักดี ก็ไม่รู้นะว่าข้อเท็จจริงเป็นงัย
เห็นแต่ป้ายเล็ก ๆ ตามถนน ออกไปถนนใหญ่นั่นแหละถึงเห็นป้าย บอกว่าเป็นใคร ท�าอะไร
อยู่พรรคไหน ก็มีบ้างที่เห็นรถกระจายเสียงของเขาวิ่งผ่าน....”