Page 120 - kpiebook63008
P. 120
120 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
จากผลการเลือกตั้งดังกล่าวชี้ให้เห็นรูปแบบและลักษณะการเมืองในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีบางประการ
กล่าวคือ ประการแรก การตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนในพื้นที่ยังคงผูกติดกับผู้สมัคร ส.ส. ที่เคยเป็น
อดีตนักการเมืองเดิม ประการที่สอง พรรคการเมืองที่เป็นฐานทางการเมืองของรัฐบาล (พลเอกประยุทธ์
จันโอชา) ที่กุมกลไกอำานาจรัฐภายใต้รัฐบาลที่มาจากการทำารัฐประหาร มีอิทธิพลเป็นอย่างสูงในทางการเมืองในพื้นที่
และประการที่สาม ระบบอิทธิพลและเครือข่ายการเมืองในระดับท้องถิ่นยังคงมีบทบาทในการเมืองระดับชาติ
ทั้งนี้หากพิจารณาในประเด็นว่าด้วยคำาถามที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
มีผลที่ท�าให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความนิยมหรือความผูกผันต่อพรรคการเมืองต่างไปจากการเลือก
ตั้งครั้งที่แล้วหรือไม่อย่างไร โดยที่จากการเลือกตั้งในปี 2554 หรือ 8 ปีที่ผ่านมา ความเป็นพรรคการเมือง
หรือความนิยมในพรรคการเมืองยังสามารถฝังรากลึกในสังคมได้หรือไม่ ด้วยเหตุผลใด” นั้น อาจกล่าวได้
ว่า จากผลการเลือกตั้งนั้นการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีมิได้มีผลต่อคะแนนนิยมและ
ความผูกพันที่มีต่อพรรคการเมืองมากนัก กล่าวคือ เป็นการเลือกที่ตัวบุคคลมากกว่าการให้มุ่งเน้นไปที่
“ความสำาคัญของพรรคการเมือง” ดังปรากฏว่า ในการเลือกตั้งปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง 3
เขตเลือกตั้ง และเมื่อผู้สมัครฯ ในฐานะที่เป็นอดีต ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
คะแนนเสียงก็ได้เปลี่ยนแปลงไปตามตัวผู้สมัคร ในขณะที่ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ที่เข้ามาแทนนั้น
ไม่อาจประสบความสำาเร็จได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งได้เลยแม้แต่คนเดียว โดย 5 เขตเลือกตั้ง ผู้สมัคร ส.ส.
ที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ประกอบด้วย เขตเลือกตั้งที่ 1 นายอาศุชิน เป้าอารีย์ เขตเลือกตั้งที่ 3 นายปารเมศ
โพธารากุล เขตเลือกตั้งที่ 4 พลโททำานุ โพธิงาม เขตเลือกตั้งที่ 5 นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ในขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 2
นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร แม้ว่าจะเป็นอดีต ส.ส.ที่ชนะการเลือกตั้งในปี 2554 แต่ก็ไม่สามารถรักษาที่นั่งเดิม
ไว้ได้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในกรณีพื้นเขตเลือกตั้งที่ 2 ดังกล่าวนี้ ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเลือกตั้งนั้น
อาจมาจากประเด็นการแบ่งเขตเลือกตั้ง ด้วยสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้มีการจัดแบ่ง
พื้นที่ใหม่ โดยมีการตัดตำาบลหนองกุ่ม อ.บ่อพลอย และตำาบลหนองโรง ตำาบลหนองสาหร่าย อำาเภอพนมทวน
ออกไป ซึ่งเป็นที่รับรู้กันดีว่าเป็นพื้นที่ฐานเสียงของนายฉัตรพันธ์ฯ จนเป็นเหตุให้นายฉัตรพันธ์ฯ ดำาเนินการ
ยื่นหนังสือคัดค้านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดกาญจนบุรีในช่วงเวลาการดำาเนินการประกาศ
เขตเลือกตั้งปี 2561 และนำามาสู่การตั้งข้อสังเกตว่ามีเป้าหมายทางการเมืองด้วยการสร้างความได้เปรียบให้กับ
58
ผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคที่สนับสนุนรัฐบาล (ผู้จัดการออนไลน์, 2561ก และไทยรัฐออนไลน์ 2561ก และสุพจน์
สัมภาษณ์, 2562) นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับกรณีที่พรรคเพื่อไทยมิได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. หากแต่สนับสนุน
พรรคไทยรักษาชาติเป็นผู้ดำาเนินการส่งผู้สมัคร ส.ส. แทน แต่ในที่สุดก็ต้องยุติบทบาทก่อนถึงกำาหนดวันเลือกตั้ง
24 มีนาคม ด้วยศาลรัฐธรรมนูญมีคำาพิพากษาให้ยุบพรรคไทยรักษาขาติ ทั้งนี้ในการเลือกตั้งปี 2554 นั้น
พรรคเพื่อไทยมี ส.ส. 2 คน ประกอบด้วย เขตเลือกตั้งที่ 2 คือนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ และเขตเลือกตั้งที่ 1
พลเอกสมชาติ วิษณุวงศ์ ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ พลเอกสมชายฯ ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ สำาหรับ
58 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมบทที่ 3 หน้า 8-10.