Page 112 - kpiebook63008
P. 112

112      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







                      สำาหรับระบบการใช้บัตรใบเดียวกับการเลือกตั้งระบบใหม่ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 นั้น

             ในทัศนะของประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถือเป็นเรื่องสำาคัญ ด้วยเหตุที่ว่า นับจากระบบการเลือกตั้งที่ได้รับ
             การออกแบบภายหลังการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญปี 2540 แล้วนั้น กลุ่มผู้เลือกตั้งที่แม้ว่าจะเคยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว

             สำาหรับการลงคะแนนเลือก ส.ส. ก็ล้วนแล้วแต่มีทัศนคติต่อวิธีการ/รูปแบบการเลือก ส.ส. ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
             อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ เห็นว่าโดยระบบการเลือกตั้งที่ใช้บัตร 2 ใบ นั้นทำาให้พวกเขามีทางเลือกในการที่จะตัดสิน

             ใจว่า ระหว่างการเลือก ส.ส. เขต กับการเลือกพรรคนนั้น สามารถแยกประเด็นในการตัดสินใจได้ กล่าวคือ
             (1) การเลือก ส.ส. อาจอยู่ภายใต้ดุลยพินิจหรือข้อพิจารณาที่ว่า ส.ส. นั้นมีผลงานอย่างไรบ้างในพื้นที่ในช่วงเวลา

             ก่อนการเลือกตั้ง และหากเคยดำารงตำาแหน่ง ส.ส. มาก่อนนั้น ช่วงที่เป็น ส.ส. นั้นการทำางานในพื้นที่เป็นอย่างไร






             กำรด�ำเนินนโยบำยตำมยุทธศำสตร์ชำติของพรรคกำรเมือง




                      ในประเด็นนี้มุ่งอธิบายยุทธศาสตร์ชาติในมิติ (1) ผลต่อนโยบายของพรรค (2) อิทธิพลต่อการลงสมัคร
             รับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง  กับปัจจัยด้านตัวบุคคลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง


                      ยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวนี้ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

             ไทยพุทธศักราช 2560 ซึ่งมาตราดังกล่าวกำาหนดรัฐจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ

             อย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560
             มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ รับผิดชอบจัดทำาร่างยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วยคณะกรรมการ 6 คณะ
             ต่อมาได้กำาหนดยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง

             ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” กำาหนดแนวทางการประเมิน

             ผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย (1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย (2) ขีดความสามารถ
             ในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ (3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
             (4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม (5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม

             และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และ (6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการ

             ของภาครัฐ (สำานักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
             เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ออนไลน์)


                      ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ชาติแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มประกอบด้วย (1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
             (2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง

             ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (5) ยุทธศาสตร์
             ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุล

             และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117