Page 108 - kpiebook63008
P. 108

108      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี





             ธรรมวิชญ์ฯ นั้นเป็นอดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งปี 2554 และเข้าสู่

             การเมืองจากการเป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “ผู้ใหญ่แหลม” นายกองค์การบริหารส่วนตำาบลตะครำ้าเอน

             อำาเภอท่ามะกา (นายก อบต.) และ “ส.ส.แหลม” ในเวลาต่อมา (กำานันแดง นามสมมติ, สัมภาษณ์ 2562)

                      สำาหรับพลเอกสมชายฯ นั้น ความสำาเร็จทางการเมืองปฏิเสธไม่ได้ด้วยผลจากปัจจัยการเป็นคนเมืองกาญจน์

             โดยกำาเนิด เติบโตและเรียนหนังสือจากโรงเรียนวิสุทธรังสีซึ่งเป็นโรงเรียนประจำาจังหวัดจึงมีรุ่นพี่รุ่นน้องจำานวน
             มากและเป็นที่รู้จักกันดีของคนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากความสำาเร็จในอาชีพรับราชการในฐานะนายทหาร

             ระดับสูง เข้าสู่การเมืองและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. นับจากการเลือกตั้งปี 2548, 2550 และ 2554 ภายใต้สังกัด
             พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และเพื่อไทย ตามลำาดับ (ณัฐพงศ์ บุญเหลือและสุวิชา วรวิเชียรวงษ์, 2559,

             หน้า 101-112, 162 และ 167)




             เครือข่ำยภำคประชำชนกับบทบำททำงกำรเมืองผ่ำนกำร


             ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในกำรเลือกตั้งปี 2562




                      กระบวนการภาคประชาชนและเครือข่ายขบวนการกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้น

             มีความเข้มแข็งไม่น้อย และถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทนำาในการเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะที่เกิดขึ้นใน

             ระดับจังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ กลุ่มเครือข่ายสำาคัญ ๆ ในปัจจุบันมีบทบาทร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่มีอยู่
             ในพื้นที่ รวมถึงองค์กรอิสระในการขับเคลื่อนภารกิจสำาคัญ ๆ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การจัดการสิ่งแวดล้อม
             การร่วมดูแลรักษาและป้องกันการทำาลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดการแหล่งท่องเที่ยว

             โดยมีชื่อกลุ่มต่าง ๆ อาทิ กลุ่มปฏิรูปสื่อ ภาคประชาชน สถานีวิทยุเสียงชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี นำาโดยบุญส่ง

             จันทร์ส่องรัศมี และสุนทร สุริโย ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี มีศิวโรฒ จิตนิยม (ประธานสภาองค์กร
             ชุมชนตำาบลหนองสาหร่าย อำาเภอพนมทวน และพิพัฒน์ แก้วจิตคงทอง เป็นแกนนำา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
             เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี เครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดฯ เครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ

             ศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดฯ และเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฯ

             (ทสม.) เป็นต้น อย่างไรก็ตามในทางการเมืองแม้ว่าการขับเคลื่อนเครือข่ายประชาชนจังหวัดกาญจบุรีจะมีพลัง
             และแนวร่วมจำานวนมากก็ตาม หากแต่ในในมิติเกี่ยวกับการเมืองในระดับชาติแล้ว มิได้มีแนวคิดและการปฏิบัติ
             ทางการเมืองในแนวเดียวกันแต่อย่างใด ชี้ให้เห็นว่ามีการแยกเรื่องการเมืองออกจากประเด็นความร่วมมือทำางานใน

             ประเด็นสาธารณะซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือประโยชน์ในเชิงพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน ตำาบลหรือในระดับจังหวัด


                      ดังนั้นเมื่อผู้นำาเครือข่ายหรือขบวนการภาคประชาชนตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมืองด้วยการลงสมัคร
             รับเลือก ส.ส. คนในพื้นที่หรือสมาชิกเครือข่ายประชาชนจึงมิได้ให้การสนับสนุนทั้งการลงคะแนนเสียง

             และการช่วยประชาสัมพันธ์ทั้งการพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อสร้างการสนับสนุนต่อแนวร่วมเครือข่ายฯ ที่ลงสมัคร
             รับเลือกตั้งแต่อย่างใด ตัวอย่างกรณีของพรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทยนั้น ผู้สมัคร ส.ส. ในพื้นที่นั้น

             นับว่ามีบทบาทเคลื่อนไหวปัญหาด้านหนี้สินเกษตรกร ปัญหาที่ดินทำากิน และปัญหาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113