Page 104 - kpiebook63008
P. 104

104      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             ภาพลักษณ์ทางการเมืองในลักษณะ “การวางตัวเป็นสายกลาง” หรือ “พรรคที่มิได้เป็นคู่ขัดแย้งทางการ

             เมือง” ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในปัจจัยบางประการ การลงเลือกตั้งภายใต้สังกัดพรรคการเมืองดังกล่าวข้างต้น
             ส่งผลต่อชัยชนะทางการเมืองที่ยาก ด้วยกระแสความนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองอย่างพรรคเพื่อไทย

             ในช่วงปี 2554 ยังคงได้รับความนิยมในพื้นที่ค่อนข้างมากและนั่นทำาให้พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ ภายใต้สังกัด
             พรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวประสบชัยชนะในการเลือกตั้งเขตอำาเภอเมือง


                      อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 วรสุดา สุขารมณ์ก็ไม่อาจประสบความสำาเร็จ

             ในการเลือกตั้งได้เมื่อพรรคไทยรักษาชาติถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินใจให้ต้องยุบพรรคฯ ด้วยประเด็นปัญหา
             การเสนอรายชื่อผู้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีในนามของพรรค ซึ่งทำาให้เป็นเรื่องที่จำาเป็นต้องศึกษาต่อไป

             ว่า ในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวนี้ หากพรรคไทยรักษาชาติไม่ถูกยุบนั้น การเปลี่ยนย้ายสังกัดพรรคการเมือง
             ของพลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ จากพรรคเพื่อไทยไปสังกัดยังพรรคพลังประชารัฐ จะมีผลต่อคะแนนเสียง

             มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ด้วยในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้น พรรคเพื่อไทยตัดสินใจไม่ส่งผู้สมัครในนามของพรรคฯ
             ด้วยเหตุผลการวางกลยุทธ์ในการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า พรรคไทยรักษาชาตินั้นแต่จริงก็คือพรรคเพื่อไทยนั้นเอง


                      สำาหรับกรณีที่สอง เหตุผลของผู้สมัคร ส.ส. กับการไม่ย้ายสังกัดพรรคการเมือง มาจากปัจจัยหรือ

             เหตุผล (1) ความสัมพันธ์ของนักการเมืองกับพรรคการเมือง (2) ปัจจัยด้านฐานเสียงหรือกลุ่มผู้สนับสนุน
             โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่


                      สำาหรับประเด็นแรกนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับพรรคการเมืองนั้น มีความสำาคัญที่กล่าวได้ว่า
             เป็นทั้งเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับตัวผู้นำาพรรค หรือผู้ใหญ่ในพรรคที่ได้ทำากิจกรรมทางการเมืองร่วม

             กันมานาน จึงเกิดความคุ้นเคย ความผูกพันกับบุคคลที่มีบทบาทสำาคัญของพรรคการเมืองที่ตนสังกัด รวมถึงการ

             ได้รับการสนับสนุนทางการเงินในการทำากิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่เลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมาจากการได้รับการสนับสนุน
             ให้มีบทบาทในพรรคการเมืองมากขึ้น หรือการได้รับความไว้วางใจในการทำางานการเมือง นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับ
             นโยบายของพรรคการเมืองที่ผู้สมัคร ส.ส. เห็นว่าสอดคล้องกับอุดมการณ์และเป้าหมายทางการเมืองของตน


                      ในกรณีของพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ผู้สมัคร ส.ส. ในเขตเลือกตั้งต่าง ๆ นั้นสังกัด ความผูกพันและ

             ความใกล้ชิด คุ้นเคย รวมถึงการมีบุญคุณต่อกันนับว่ามีความสำาคัญมากต่อการเลือกที่จะไม่ย้ายสังกัดพรรคการเมือง
             รวมถึงการตัดสินใจที่จะลงสมัครภายใต้สังกัดพรรคการเมืองเหล่านั้น หากพิจารณาในกลุ่มพรรคการเมือง

             ขนาดเล็กจะพบว่า บุคคลที่ลงสมัครในนามพรรคต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีบทบาทในด้านต่าง ๆ ของพรรค
             โดยเฉพาะการทำากิจกรรมในนามของพรรคมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว “แนวคิด ค่านิยม ความเชื่อ อุดมการณ์

             และเป้าหมายทางการเมือง” จึงมักเป็นไปในทิศทางหรือแนวทางเดียวกัน เช่น ผู้สมัคร ส.ส. สังกัดพรรค
             เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายว่า ต้องการจะช่วยเหลือกลุ่มชาวนาด้วยกัน ทั้งในด้านราคาผลผลิตข้าว

             การพัฒนาแหล่งนำ้า ผู้สมัครฯ ส.ส. ของพรรคจึงมีบทบาทสำาคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งนำ้าในพื้นที่
             มาอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน (ผู้สมัครฯ ส.ส. พรรคการเมืองหนึ่ง และผู้นำาหมู่บ้านในพื้นที่, สัมภาษณ์ 2562)
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109