Page 102 - kpiebook63008
P. 102
102 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
หากพิจารณาจากภูมิหลังทางการเมืองท้องถิ่น เดิมทีนั้นกลุ่มผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคภูมิใจไทยส่วนใหญ่
อยู่กับพรรคเพื่อไทยมาก่อน โดยอานนท์ ถนอมวงษ์ มีพื้นฐานและภูมิหลังทางการเมืองท้องถิ่น ซึ่งในปี 2555
ได้รับเลือกเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) อำาเภอทองผาภูมิ เขตเลือกตั้งที่ 1 ขณะที่
พนม โพธิ์แก้ว อำาเภอไทยโยค เขตเลือกตั้งที่ 1 และชูเกียรติ อาจปักษา เขตเลือกตั้งที่ 2 อำาเภอพนมทวน
นอกจากนี้ยังมีตระกูลจีนาภักดิ์ คือ ชูเกียรติ จีนาภักดิ์ ในเขตเลือกตั้งที่ 4 อำาเภอท่าม่วง ซึ่งทั้ง 4 คนอยู่ภายใต้
การสนับสนุนหรือกลุ่มของพลโทมะ โพธิ์งาม (ผู้จัดการออนไลน์, 2555)
48
การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรีนั้น เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างตัวนักการเมือง
การเป็นตระกูลนักการเมืองระดับท้องถิ่นนับตั้งแต่งระดับหมู่บ้าน “ผู้ใหญ่บ้าน” และการก้าวขึ้นสู่ระดับตำาบล
“กำานัน” นั้นนับว่ามีความสำาคัญต่อการเข้าสู่การเมืองระดับชาติในระดับ “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” (ส.ส.) เป็น
อย่างมาก หากพิจารณาจากความสำาเร็จในกลุ่มนักการเมืองในอดีต ดังปรากฏชื่อกำานันนำาหน้าบุคคลสำาคัญ ๆ
ที่ชนะการเลือกตั้งและได้รับการเลือกตั้งในเวลาต่อมา และแม้ว่าจะสอบตกหรือถูกคู่แข่งขันสามารถชิงชัย
ในเกมการเลือกในแต่ละช่วงเวลา นักการเมืองเหล่านี้ เช่น กำานันหยุ่น หรือนายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
ซึ่งเคยชนะการเลือกตั้งเป็นผู้แทนเขตเลือกตั้งที่ 4 อันประกอบด้วยด้วยอำาเภอห้วยกระเจา อำาเภอเลาขวัญ
และอำาเภอบ่อพลอย ขณะที่กำานันเซียะ หรือนายประชา โพธิพิพิธ นั้นเดิมทีฐานเสียงหรือกลุ่มผู้สนับสนุนก็อยู่
ในพื้นที่เลือกตั้งนี้เช่นเดียวกัน และได้แข่งขันในสนามเลือกตั้งมายาวนาน ชื่อเสียง ความคุ้นเคยและการรู้จักมักคุ้น
จึงเป็นจุดเด่นสำาคัญที่ส่งผลต่อทายาททางการเมือง หรือนักการเมืองรุ่นลูกที่เข้ามาทดแทนในสนามการเลือกตั้ง
อย่างไรตามการเป็นทายาททางการเมืองเพียงอย่างเดียว ไม่อาจเป็นสิ่งที่จะรับประกันหรือการันตี
ได้ว่าจะทำาให้ประสบความสำาเร็จในการลงสมัครรับเลือกตั้งในสนามการเมืองระดับชาติ หากแต่จำาเป็นต้อง
พึ่งพาตัวเองเป็นสำาคัญด้วย กล่าวคือจำาเป็นต้องลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องและสมำ่าเสมอ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมักคุ้น
หรือคุ้นเคยกับบรรดาผู้นำาท้องถิ่น ทั้งกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น
รวมถึงบรรดาผู้นำาชุมชนต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสายสัมพันธ์กับบรรดาข้าราชการทั้งในระดับท้องถิ่น
และระดับจังหวัดอีกด้วย
จากที่กล่าวข้างต้น ในระดับพื้นที่เขตเลือกตั้ง นักการเมืองของจังหวัดกาญจนบุรีจึงมีวิธีการ รูปแบบ
กลยุทธ์ในการสร้าง “กลุ่มสนับสนุน” หรือประชาชนที่เป็นฐานเสียงในแต่ละพื้นที่ของตน เรียกว่า เป็นการสร้าง
พื้นที่คะแนนเสียงหรือฐานเสียงเป็นสำาคัญ รูปแบบการสร้างเครือข่ายทางการเมืองจึงเป็นการสร้างผ่านเครือข่าย
48 ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.)
ปี 2555 การเมืองในระดับจังหวัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกนำาโดยรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ สามีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ
ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น กับกลุ่มของพลโทมะ โพธิ์งาม อดีต ส.ส. และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำากระทรวง
คมนาคม พรรคเพื่อไทย ผลการเลือกตั้ง รังสรรค์ฯ ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน 183,513 ในขณะที่พลโทมะ ได้คะแนน 141,831
และทีม ส.อบจ. ของรังสรรค์ ได้ 19 ที่นั่ง ขณะที่ทีม ส.อบจ. ของพลโทมะ ได้ 11 ที่นั่ง (ผู้จัดการออนไลน์, 2555)