Page 106 - kpiebook63008
P. 106

106      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             การเมืองของจังหวัดค่อนข้างมาก และเมื่อย้ายพรรคหรือเปลี่ยนสังกัดพรรคการเมืองในการลงเลือกตั้งแต่ละครั้ง

             ย่อมมีผลทำาให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย กล่าวคือ ประชาชนในพื้นที่จะตัดสินใจทางการเมืองด้วย
             การลงคะแนนเสียงเลือกนักการเมืองที่อยู่ในกลุ่มตระกูลการเมืองเหล่านี้เป็นหลัก ในขณะที่นักการเมืองอื่น ๆ นั้น

             แม้ว่าจะมีการดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และเป็นคนในพื้นที่ หากแต่ก็ยังไม่สามารถชนะ
             การเลือกตั้งได้ ยกเว้นในบางพื้นที่เท่านั้น


                      การสร้างเครือข่ายทางการเมืองในพื้นที่เลือกตั้งภายในจังหวัดกาญจนบุรีนั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว

             จะเริ่มจาก ประการแรก การเข้าสู่สนามการเมือง โดยนักการเมืองส่วนใหญ่จะเริ่มจากการเข้าสู่สนามการเมือง
             ระดับพื้นที่หรือที่เรียกว่า “สนามเล็ก” มาก่อน ซึ่งสนามเล็กที่ว่านี้ส่วนใหญ่จะเริ่มจาก “ระดับหมู่บ้าน” กล่าวคือ

             ลงสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านก่อนเป็นลำาดับแรก ซึ่งการทำางานการเมืองในระดับหมู่บ้านดังกล่าวนี้ ถือเป็นด่านแรก
             ในการแสดงถึงขีดความสามารถของการเป็นนักการเมืองในฐานะผู้นำาท้องถิ่นที่ขันอาสาเพื่อเป็นตัวแทนของคน

             ในพื้นที่ ในการเป็นปากเสียง พร้อมทั้งต่อสู้เรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐให้เข้ามาช่วยเหลือหรือสนับสนุน
             กิจกรรมต่าง ๆ ของพื้นที่ระดับหมู่บ้าน และงานที่ถือเป็นกุญแจสำาคัญที่แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของผู้ใหญ่บ้าน

             คือ “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค” อันประกอบด้วยเส้นทางคมนาคม ไฟฟ้า และประการต่อมาคือ
             การต่อสู้เรียกร้องเกี่ยวกับนำ้าสำาหรับการทำาการเกษตร และสำาหรับบริโภค ในขณะที่การเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่

             อย่างสมำ่าเสมอ เช่น กิจกรรมเกี่ยวเทศกาลด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และการเข้าช่วยแก้ไขปัญหาอันเกิด
             จากการถูกเอาเปรียบเมื่อมีกรณีพิพาท หรือประสบปัญหาด้านอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับลูกหลาน หรือญาติใกล้ชิด

             สิ่งเหล่านี้ได้มีผลต่อการสร้าง “บุญคุณ” ที่นำาไปสู่การยอมรับในบทบาทที่เรียกว่า “บารมี” ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชน
             ในพื้นที่ให้ความสำาคัญ ด้วยปัญหาอันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานราชการนั้น

             เป็นเสมือนของแสลงหรือต้องห้าม ที่ประชาชนยังคงมีค่านิยม มีวัฒนธรรมทางการเมืองและสังคมอยู่ในมิติ
             ความสำาคัญเชิงอำานาจแบบ “นายกับลูกน้อง” มากกว่าจะเป็น “ประชาชน” กับ “ข้าราชการ” ซึ่งฝ่ายหลังมีฐานะหลัก

             เป็นผู้รับใช้ประชาชน ซึ่งโดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏแม้ว่าพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลข่าวสาร
             จะปรากฏมากน้อยเพียงใด หากแต่โดยความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง กล่าวคือ ประชาชนยังมีสถานะที่มิได้

             มีความทัดเทียมหรือสามารถที่จะเป็นผู้มีบทบาทเหนือระบบราชการได้แต่อย่างใด

                      ทั้งนี้แม้ว่ารูปแบบทางสังคมการเมืองในระดับชาติจะเปลี่ยนแปลงและมีความก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด

             หากแต่ในระดับพื้นที่แล้วยังคงมีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่น้อยถึงน้อยมาก (การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวได้ว่าเป็น

             ไปในรูปแบบรื้อสร้างที่มิได้มีรูปแบบเดิมลงเหลืออยู่เลยนั้น ไม่ได้มีอยู่จริงในพื้นที่แต่ประการใด) ความสัมพันธ์
             ในรูปแบบเครือข่ายอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองที่เติบโตจากระดับพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน จึงนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์
             ในรูปแบบเกื้อกูลที่ใช้เวลาในการสร้างและมีสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง “ได้ใจและกินใจ” ชาวบ้านหรือประชาชนใน

             พื้นที่ ประเด็นดังกล่าวนี้ได้เป็น “ปัจจัยหลัก” ทางการเมืองในสนามการเลือกตั้งระดับชาติอย่างเข้มข้นและมีผล

             อย่างลึกซึ้งต่อผลการเลือกตั้งในเวลาต่อมา และคือมักเป็นที่เข้าใจว่า การเมืองในชนบทหรือชุมชนยังคงยึดติด
             อยู่กับเครือข่ายอุปถัมภ์ (patronage system) ระหว่างนักการเมืองระดับชาติ - นักการเมืองท้องถิ่น (พื้นที่) -
             ชาวบ้าน (ประชาชน) และเมื่อเป็นไปในลักษณะดังกล่าว  ฐานะทางเศรษฐกิจ (เงินทุน) บทบาทและอำานาจหน้าที่
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111