Page 110 - kpiebook63008
P. 110
110 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
กำรเลือกตั้งระบบใหม่แบบบัตรเดียวกับกำรตัดสินใจของ
ผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง
กำรตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งกับระบบกำรเลือกตั้งใหม่แบบบัตรเดียว
เบอร์เดียวของประชำชนจังหวัดกำญจนบุรี
ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 สำาหรับประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ระบบการเลือกตั้ง
แบบใหม่ซึ่งกำาหนดให้ใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวนั้น ในช่วงแรกภายหลังการประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.
ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น นับว่ามีผลในเชิงจิตวิทยาไม่น้อยกล่าวคือ เป็นความรู้สึกอันเกิดจาก
พฤติกรรมความคุ้นชินกับระบบการเลือกแบบเดิม หรือระบบการเลือกตั้งโดยใช้บัตร 2 ใบ ซึ่งประชาชนสามารถ
เลือกได้ว่าจะตัดสินใจอย่างไร สิ่งที่ปรากฏก็คือ การวิพากษ์วิจารณ์ต่อระบบการเลือกตั้งที่ทำาให้พวกเขานั้น
ตัดสินใจลำาบาก หรือ “ยาก” มาก หากเปรียบเทียบกับระบบการเลือกตั้งที่ใช้บัตร 2 ใบ ทั้งนี้ระบบการเลือกตั้ง
ที่กำาหนดให้มีบัตร 2 ใบ ทำาให้ชาวบ้านในฐานะผู้มีอำานาจในการตัดสินใจสามารถเลือกได้ว่า จะตัดสินใจอย่างไร
ระหว่าง (1) เลือกพรรค กับ (2) เลือกคน หรือเลือกผู้สมัคร ส.ส. หรืออาจไม่อยากเลือกก็สามารถกาลงในบัตร
ได้ในช่องไม่ประสงค์จะเลือกใคร
ในทัศนะของชาวบ้านรวมถึงผู้นำาชาวบ้านนั้นระบบการเลือกตั้งโดยใช้บัตร 2 ใบ มีข้อดีมากกว่า
การใช้ระบบบัตรเลือกตั้งใบเดียว ด้วยเหตุผลที่ว่า พวกเขาสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะเลือกใครและพรรค
ใด และต้องเลือกอย่างใดให้ได้ประโยชน์มากกว่า หรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถรักษานำ้าใจที่ได้ให้ไว้กับผู้นำา
ชุมชนหมู่บ้าน หรือหัวคะแนน กล่าวได้ว่า ภายใต้โครงสร้างสังคมของในระดับชุมชนท้องถิ่นนั้น ความสัมพันธ์
ทางสังคมที่เป็นอยู่นั้นเป็นระบบที่ยังคงมีการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างกัน ความเกรงใจและการรักษาความสัมพันธ์
อันดีระหว่างผู้นำากับชาวบ้าน และระหว่างชาวบ้านด้วยกันเองนั้นยังคงมีอิทธิพลหรือมีผลต่อการตัดสินใจ
ทางการเมืองเป็นสำาคัญ แม้ว่าปัจจุบันสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากแล้วก็ตาม
ในระบบการเลือกตั้งที่บัตร 2 ใบ ประกอบด้วย บัตรสำาหรับเลือก ส.ส. กับบัตรสำาหรับเลือกพรรคการเมืองนั้น
ในแง่ดีสำาหรับชาวบ้านผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้น บัตรเลือก ส.ส. จะมีผลต่อการตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัคร ส.ส.
คนใด ด้วยเหตุผลใด ซึ่งแต่ประชาชนแต่ละคนจะมีวิธีตัดสินใจเลือกแตกต่างกัน ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย
(1) การเลือกด้วยเหตุผลชื่นชอบในผลงานที่ผู้สมัคร ส.ส. มี และทำางานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง (2) การเลือก
ด้วยต้องการเปลี่ยนแปลงตัว ส.ส. และพรรคการเมือง (3) การเลือกด้วยเหตุผลจากหัวคะแนนในพื้นที่ (4) การเลือก
ด้วยปัจจัยทางการเงินในการหาเสียง และ (5) การเลือกด้วยเหตุผลอื่น ๆ
ประการแรก การเลือกด้วยเหตุผลชื่นชอบในผลงานของผู้สมัคร ส.ส. การตัดสินใจในประเด็นนี้
เป็นการพิจารณาที่ผลงานของผู้สมัครฯ ที่ได้ทำามา และปรากฏชัด ผู้ใช้แนวทางนี้เป็นปัจจัยในการเลือกนั้น
มักเป็นกลุ่มคนที่มีมุมมองและทัศนคติทางการเมืองในแง่ดี และมองว่าการจะเลือกนักการเมืองนั้น จำาเป็นต้อง
ตัดสินใจบนพื้นฐานของผลงานและกิจกรรมทางการเมืองที่ได้ทำามามากว่าเหตุผลอื่น ๆ ซึ่งประชาชนจะต้อง
ติดตามผลงานและเรียนรู้ว่านักการเมืองที่ตนเองได้เลือกในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานั้นเป็นอย่างไร