Page 92 - kpiebook63006
P. 92

92    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      นราเดช ให้เหตุผลถึงการลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทยว่าเป็นพรรคที่วางตัวไม่ขัดแย้ง

             กับพรรคการเมืองใดและประชาชนกลุ่มใด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ใช่มีใจโน้มเอียงกับกลุ่มคนเสื้อเหลือง
             กลุ่มกปปส. กลุ่มคนเสื้อแดงนั่นเอง เพราะพรรคต้องการก้าวข้ามความขัดแย้งเพื่อจะได้มุ่งเน้นพัฒนา

             ประเทศอย่างเต็มที่ แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กำาลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้
             พืชเศรษฐกิจหลักคือ ยางพารา ปาล์มนำ้ามัน มีราคาตกตำ่าลงอย่างมาก ในขณะที่การทำาประมง ซึ่งเป็น

             อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่หล่อเลี้ยงคนภาคใต้ก็มีปัญหาอย่างมากเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังต้องการพัฒนา
             สงขลา ฟื้นฟูเมืองสงขลาในฐานะที่เป็นเมืองท่องเที่ยวด้วยการนำารูปแบบความสำาเร็จที่เกิดขึ้นในจังหวัด

             บุรีรัมย์ หรือ “บุรีรัมย์ โมเดล” มาปรับใช้อีกด้วย จึงเห็นว่า พรรคภูมิใจไทยมีความเหมาะอย่างยิ่งที่จะ
             ผลักดันการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านี้ (นราเดช คำาทัปน์ ,ปราศรัย 1 มีนาคม 2562)


                      คณะทำางานของนราเดช (สัมภาษณ์ 9 มกราคม 2562) เชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งในเขตนี้มีโอกาส

             เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสูง และเชื่อมั่นในตัวของนราเดช จากประสบการณ์ทางการเมือง และคุณลักษณะเด่น
             ดังที่ได้กล่าวมาผสมผสานกับการสังกัดพรรคภูมิใจไทย ที่กำาหนดตำาแหน่งของพรรคให้เป็นพรรคที่เป็น “กลาง”

             สามารถร่วมงานกับพรรคต่างๆ ได้โดยไม่เงื่อนไข หรือความขัดแย้งในแนวทางการทำางานการเมืองกันมาก่อน
             ดังเช่น พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย อีกทั้งแนวนโยบายพรรคยังมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

             เป็นหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจภาคใต้และจังหวัดสงขลาได้แก่ ปัญหาราคายางพารา ปาล์มนำ้ามันตกตำ่า
             ปัญหาการทำาประมงที่เป็นผลสืบเนื่องมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่การขึ้นมามีอำานาจของคสช.


                      ในแง่ของการแข่งขันทางการเมือง คณะทำางานของนราเดช มีความเห็นสอดคล้องกับคณะทำางาน

             ของวันชัยว่า หากเจือ ยังคงเป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครและพรรคการเมืองอื่นๆ จะหาเสียง
             ด้วยความยากลำาบาก ไม่ว่าจะพิจารณาในด้านของอายุและความอาวุโสทางการเมือง บทบาททาง
             การเมือง ประสบการณ์ทางการเมือง แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจส่งสรรเพชญ ลงสมัคร ทำาให้

             นราเดช มีความหวังสูงที่จะชนะเลือกตั้ง เพราะสรรเพชญมีจุดอ่อนหลายด้าน เช่น อายุ ประสบการณ์

             ทางการเมือง นอกจากนั้น การเป็นบุตรของนายกฯ อบจ. ไม่ใช่เป็นความได้เปรียบแม้ว่ามีเครือข่าย
             นักการเมืองท้องถิ่นอยู่มาก แต่ความได้เปรียบนี้กลับถูกมองว่าเป็นจุดอ่อนไม่ใช่จุดแข็งเพราะกระแสของ
             ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่า นิพนธ์ต้องการครองอำานาจในจังหวัดสงขลาทั้งการเมืองในระดับชาติและการเมือง

             ในระดับท้องถิ่น


                      กล่าวได้ว่าในเขตเลือกตั้งนี้เป็นการแข่งขันของผู้สมัครและพรรคดังกล่าวข้างต้น ส่วนอีก
             30 กว่าคนและพรรคที่เหลือที่มีการหาเสียงและกิจกรรมทางการเมืองที่พอจะเห็นได้บ้างมีเพียงไม่กี่คน

             เช่น นายรณภพ วัตตะสิงห์ ทนายความและอดีตผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งปี 2554
             ในครั้งนี้ลงสมัครในนามพรรคประชาชาติ นายไพฑูรย์ สรรเสริญ พรรคอนาคตใหม่ เป็นต้น
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97