Page 93 - kpiebook63006
P. 93
93
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ�ำเภอหำดใหญ่
(เฉพาะเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองคลองแหและตำาบลคลองอู่ตะเภา)
เขตนี้นับเป็นเขตเศรษฐกิจที่ไม่ใช่เฉพาะของสงขลา เพราะอำาเภอหาดใหญ่นับว่าเป็นเมือง
เศรษฐกิจของภาคใต้ เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์รวมของความเจริญในด้านต่างๆ เป็นรองก็เพียง
กรุงเทพมหานครเท่านั้น ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชาติ และในพื้นที่จึงส่ง
ผลกระทบเป็นอย่างสูงต่อภาวะเศรษฐกิจของเมืองหาดใหญ่ ซึ่งปรากฏว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะ
ในปีก่อนการเลือกตั้งเป็นต้นมา ความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจในพื้นที่อำาเภอหาดใหญ่ปรากฏอย่างชัดเจน
เมื่อพบว่าย่านการค้าสำาคัญที่เคยมีลูกค้ามาจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคัก กลับมีลูกค้าลดลงเป็นอย่างมาก
ได้แก่ ตลาดกิมหยง ตลาดสันติสุข ประเด็นหลักในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครในเขตนี้ นอกเหนือจาก
นโยบายพรรคโดยภาพรวมในระดับชาติแล้ว จึงมุ่งเน้นประเด็นการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในพื้นที่
ในขณะที่ความรู้สึกของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนี้ต้องการนักการเมืองที่เป็นคนรุ่นใหม่ นักการเมืองที่มี
ความมุ่งมั่นตั้งใจทำางานแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง โดยความนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์
ลดตำ่าลงเป็นอย่างมากทั้งต่อตัวพรรค และตัวบุคคลที่เป็นอดีตส.ส.ของพรรค ผู้สมัครจากพรรคการเมือง
ที่มีความโดดเด่นในการเลือกตั้งเขตที่ 2 มีดังนี้
1. นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ พรรคประชาธิปัตย์ อายุ 42 ปี อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 1 สมัย
ในการเลือกตั้งปี 2554 เป็นการสืบทอดและแทนที่บิดาที่ไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อคือ ลาภศักดิ์
ลาภาโรจน์กิจ อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ 6 สมัย เนื่องจากลาภศักดิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในแง่ที่
เป็นส.ส. ถึง 6 สมัยแต่ไม่มีผลงานที่ปรากฏเด่นชัด ในการเลือกตั้งปี 2554 บุตรชายจึงลงสมัครแทน
ขณะที่ตนเองไปสมัครในระบบบัญชีรายชื่อลำาดับที่ 125 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง (บูฆอรี ยีหมะ 2558)
อย่างไรก็ตาม ภิรพล นับได้ว่าเป็นคนที่ถอดแบบบิดาในแง่ของบุคลิกภาพที่เงียบขรึม ไม่ค่อย
คลุกคลีกับผู้คน ซึ่งผิดวิสัยของคนที่ทำางานด้านการเมือง ทำาให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบและมีผล
ต่อคะแนนความนิยม ซึ่งประจวบเหมาะกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเมืองหาดใหญ่ และกระแส
ความเบื่อหน่ายอดีตส.ส. โดยเฉพาะทายาทของนักการเมือง ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งใน
ตัวพรรคและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
กลยุทธ์ในการหาเสียงของภิรพล พยายามเดินเคาะประตูบ้านโดยเฉพาะในเขตฐานเสียงเดิม
ของตนเอง แต่ท่ามกลางกระแสความนิยมที่มีต่อพรรคโดยภาพรวมทั้งประเทศผสานกับความไม่พอใจ
ที่มีต่อบทบาททางการเมืองของตัวเขาที่ผ่านมา ทำาให้ประสบความยากลำาบากในการหาเสียงเนื่องจาก
ต้องเผชิญกับเสียงด่าทอเวลาลงพื้นที่หาเสียงมากกว่าการต้อนรับอย่างในอดีต (ภูวสิษฐ์ สุขใส, สัมภาษณ์
2 เมษายน 2562)