Page 88 - kpiebook63006
P. 88

88    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             อาทิ องค์การบริหารส่วนตำาบล (อบต.) เทศบาล หรือเพื่อผลประโยชน์ในทางธุรกิจ เป็นต้น ส่วนในกรณีของ

             พรรคการเมืองสามารถพิจารณาได้ว่า ส่งผู้สมัครในระบบเขตเพียงเพื่อหวังคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อ
             เท่านั้นใช่หรือไม่ จากระบบการเลือกตั้งแบบใหม่แบบจัดสรรปันส่วนผสมที่ทำาให้มีผู้สมัครเป็นจำานวนมาก

             ทุกเขตเลือกตั้งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด
             มีความมุ่งมั่นจะชนะเลือกตั้งหรือไม่ อาจพิจารณาได้จากพฤติกรรมทางการเมืองดังต่อไปนี้ (บูฆอรี ยีหมะ

             2558)


                      1. พฤติกรรมทางการเมืองของตัวผู้สมัคร ได้แก่ ความมุ่งมั่น จริงจังของตัวผู้สมัครในการทำางาน
             การเมืองนับตั้งแต่ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง ว่ามีความต่อเนื่องยาวนานมากน้อยเพียงใด เช่น การพบปะ

             แนะนำาตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่ในโอกาสต่างๆ ในช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้งและเมื่อถึงช่วงเวลาเลือกตั้ง
             มีการทุ่มเทในการหาเสียงเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากน้อยเพียงใด


                      2. พฤติกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก
             คือ เงินทุนสนับสนุนการเลือกตั้งให้กับผู้สมัครตลอดกระบวนการเลือก ตั้งนับตั้งแต่ก่อนวันประกาศ

             พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีจำานวนมากน้อยเพียงใด และ

             ส่วนที่สองคือ การระดมกลไกของพรรคที่มีอยู่ทั้งหมดทั้งในระดับชาติ และในระดับพื้นที่เพื่อช่วยในการ
             รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง เช่น นักการเมืองระดับแกนนำาของพรรคที่มีชื่อเสียงในระดับชาติ
             หัวคะแนนหลักของพรรคในระดับพื้นที่ และวัสดุอุปกรณ์ของพรรคที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงตลอด

             ทั่วทั้งประเทศมีมากน้อยเพียงใด


                      จากเกณฑ์การพิจารณาดังกล่าวข้างต้นแม้มีผู้สมัครแต่ละเขตเลือกตั้งเกิน 30 คน แต่มีผู้สมัคร
             และพรรคที่มีความโดดเด่นในแต่ละเขตเลือกตั้งดังนี้



                      เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองสงขลำ


                      เขตเลือกตั้งนี้เป็นพื้นที่ที่มีทั้งเทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำาบล คือ เทศบาลนคร
             สงขลา เทศบาลเมืองเขารูปช้าง และเทศบาลตำาบลอีกหลายแห่ง มีสถาบันการศึกษาในทุกระดับทั้งระดับ

             การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีโรงเรียนประจำาจังหวัดที่มีชื่อเสียง เช่น โรงเรียนมหาวชิราวุธจังหวัดสงขลา

             โรงเรียนวรนารีเฉลิม ระดับอุดมศึกษามีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
             สงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการทั้งศาลากลางจังหวัดสงขลา อำาเภอเมือง
             สงขลา กองบัญชาการตำารวจภูธรภาค 9 สำานักงานตำารวจภูธรจังหวัดสงขลา ตลอดจนฐานทัพเรือสงขลา

             กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 5 เขตเลือกตั้งนี้จึงมีข้าราชการทั้งพลเรือน ตำารวจและทหารจำานวนมาก จึงกล่าว

             ได้ว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่มีชนชั้นกลางในสัดส่วนที่สูงยิ่ง อีกทั้งเขตนี้ซึ่งมีค่ายทหารตั้งอยู่ทั้งทหารเรือและ
             ทหารบกย่อมทำาให้พรรคการเมืองที่เสนอชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.
             อย่างพรรคพลังประชารัฐมีความได้เปรียบในทางการเมือง ผู้สมัครที่มีความโดดเด่นมีดังนี้
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93