Page 87 - kpiebook63006
P. 87

87




                  การกลั่นกรองจากพรรคมาแล้ว เช่น นโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นโยบายแก้ไข
                  ปัญหาสินค้าเกษตรตกตำ่า อาทิ ยางพารา ปาล์มนำ้ามัน เป็นต้น


                          อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า การเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ในพื้นที่ภาคใต้และสงขลา นโยบาย

                  พรรคไม่ได้เป็นปัจจัยสำาคัญในการตัดสินใจเลือก แต่ปัจจัยสำาคัญอยู่ที่อัตลักษณ์ต่อพรรคการเมือง (Party

                  Identification) ที่นำามาสู่ความผูกพันของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ความผูกพัน
                  ที่มีมาอย่างยาวนานของประชาชนภาคใต้ ที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ทำาให้พรรคประชาธิปัตย์ ชนะเลือกตั้ง
                  แบบผูกขาดมาโดยตลอดนับตั้งแต่การเลือกตั้ง 35/2 แต่ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 นี้ นโยบาย

                  พรรคกลายเป็นปัจจัยสำาคัญเข้ามาแทนที่ โพลล์ของหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ที่ผู้วิจัยได้อภิปรายมาแล้ว

                  ข้างต้น (14-20 ม.ค.62) ถามว่า “กรณีที่ท่านเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก มีแนวทางจะเลือกตั้งอย่างไร”
                  ปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 58.7% จะ “เลือกเพราะนโยบายตรงใจ” มีเพียง 25.4% เท่านั้น
                  ที่จะ “เลือกเพราะความคุ้นเคยหรือรู้จักมักคุ้นกับพรรคการเมืองนั้นๆ มาก่อนอย่างยาวนาน”


                          ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ในการเลือกตั้งปี 2544 พรรคไทยรักไทยซึ่งเสนอนโยบาย

                  โดยเฉพาะนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น
                  ปรากฏว่า ชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเกือบทั้งประเทศ มีเพียงพื้นที่ภาคใต้เท่านั้นที่ไม่ขานรับนโยบาย

                  ของพรรคไทยรักไทย แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมีมุมมองทางการเมือง
                  หรือแนวทางในการเลือกที่ในทางวิชาการเรียกว่า แนวทางการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุมีผล (rational

                  choice approach) แนวทางนี้เชื่อว่า กิจกรรมหรือการกระทำาต่างๆ ของคนเรานั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการ
                  ครุ่นคิด ไตร่ตรองแล้วจึงตัดสินใจกระทำาอย่างมีเหตุมีผล ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น

                  การกิน ดื่ม จับจ่ายใช้สอย ไปจนถึงกิจกรรมสำาคัญๆ ที่มีผลต่ออนาคต เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ
                  การมีครอบครัว ในทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน แนวทางนี้เชื่อว่า ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจะครุ่นคิด ไตร่ตรอง

                  ตัดสินใจเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง ที่มีนโยบายที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนให้มาก
                  ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ท่ามกลางตัวเลือกที่เป็นผู้สมัครและพรรคการเมืองที่มีให้เลือกจำานวนมาก (ผู้วิจัย

                  นำาเสนอแนวทางนี้โดยละเอียดแล้วในบทที่ 2) ปรากฏว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามถึง 80% มองว่าปัญหา
                  เศรษฐกิจเป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ต้องเร่งแก้ไข เห็นว่านโยบายพรรคด้านเศรษฐกิจมีความสำาคัญ

                  อยู่ในอันดับต้นๆ ที่เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้ง







                  5. ผู้สมัครและกลยุทธ์การหาเสียง


                          แม้ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้แต่ละเขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครจำานวนมากเกิน 30 คนทุกเขตเลือกตั้ง

                  แต่ทุกเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครที่จริงจัง หวังชนะเลือกตั้งทั้งตัวผู้สมัครเองและพรรคที่ส่งลงสมัครเขตละไม่เกิน
                  5 คนเท่านั้น การพิจารณาถึงความมุ่งมั่นของตัวผู้สมัครและพรรคการเมืองที่สังกัด ว่าต้องการชนะเลือกตั้ง

                  มากน้อยเพียงใด ในกรณีของตัวผู้สมัครสามารถพิจารณาในประเด็นที่ว่าลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อวัตถุประสงค์
                  อื่นๆ หรือไม่ เช่น เพื่อแนะนำาตนเองให้เป็นที่รู้จักแล้วไปลงสมัครรับเลือกตั้งในเวทีการเมืองระดับท้องถิ่น
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92