Page 86 - kpiebook63006
P. 86
86 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ประมงบางรายกล่าวว่า ชาวประมงมีปัญหามากมายจนต้องขายเรือ จากการออกกฎหมาย
ของรัฐบาล แต่ตัวแทนของพรรคไม่ได้ให้การช่วยเหลือใดๆ ด้านผู้ประกอบการท่องเที่ยว
กล่าวว่า ครั้งนี้ขอเลือกพรรคการเมืองอื่นๆ ดูบ้าง เพราะ 4 ปี ที่พวกตนมีปัญหา
พรรคไม่ได้เหลียวแล ทั้งที่ในการขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
พวกเราช่วยเต็มที่ ทั้งการลงขันและเดินทางไปร่วมชุมนุม” (MGR ONLINE, 7 กุมภาพันธ์
2562, เลือกตั้งภาคใต้ เดือด ปชป.งานเข้า คนเริ่มเบื่ออยากเปลี่ยนพรรค (ออนไลน์),
17 กุมภาพันธ์ 2562, แหล่งที่มา https://mgronline.com/south/detail/9620000013473)
ในข่าวเดียวกันนี้ยังได้รับการตอกยำ้า ถึงกระแสความเบื่อหน่ายที่ประชาชนมีต่อพรรคประชาธิปัตย์
จากผู้บริหารพรรคในพื้นที่ภาคใต้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ต้องทำางานหนัก จะประมาทไม่ได้
เนื่องจากการที่ คสช.ยึดอำานาจมากกว่า 4 ปี ทำาให้ ส.ส.ส่วนใหญ่ห่างเหินพื้นที่ และกระแสพรรคที่ตกตำ่า
ในครั้งนี้ จึงเน้นให้ผู้สมัครทุกคนทำางานหนักในการชี้แจงกับชาวบ้านถึงนโยบายพรรค
ในขณะเดียวกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ไม่เห็นด้วยต่อข่าวคราวในหลายเขต หลายจังหวัดที่มี
การวางตัวทายาทซึ่งเป็นลูกหลานคนในตระกูลอดีตส.ส. เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งดังเช่น เขต 1 ที่นิพนธ์
ผลักดันให้ลูกชายคือ สรรเพชญ ลงสมัครทั้งๆ ที่เป็นเขตเดิมของเจือ อดีตส.ส. 4 สมัย อย่างไรก็ตาม
คณะทำางานของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่สงขลายังคงเชื่อมั่นว่า บทบาทของนักการเมืองและพรรคการเมือง
ที่หายไป 5 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากประชาชนวิพากษ์วิจารณ์แสดง
ความไม่พอใจต่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์และคสช. มากกว่าพรรคการเมือง พิจารณาได้จากข่าวที่ปรากฏ
เป็นระยะๆ ในสื่อมวลชน (ถนอมศักดิ์ แป๊ะเส้ง สัมภาษณ์, 7 มกราคม 2562)
ความเชื่อมั่นดังกล่าวของคณะทำางานพรรคประชาธิปัตย์ส่งผลทำาให้มีความเชื่อมั่นว่า ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งยังคงมีความผูกพันกับพรรคการเมืองเก่าแก่ และในการเลือกตั้งจะยังคงทำาให้พรรคประชาธิปัตย์
ชนะเลือกตั้งไม่ต่างจากการเลือกตั้งในอดีต
4. นโยบายพรรค
นับตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2544 เป็นต้นมา การเมืองไทยก็เข้าสู่การเลือกตั้งที่มีการแข่งขันด้าน
นโยบาย แทนที่การแข่งขันโดยอาศัยความโดดเด่นของตัวผู้สมัครโดยเฉพาะในเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้ง
ที่มีนโยบายเป็นปัจจัยสำาคัญทำาให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างพรรคการเมืองกับตัวผู้สมัครในความหมายที่ว่า
ผู้สมัครทุกเขตเลือกตั้งต่างล้วนต้องหยิบยกนโยบายของพรรคมาใช้เป็นเครื่องมือสำาคัญในการเลือกตั้ง
มากกว่าคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร แม้ในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีประเด็นปัญหา ความต้องการของ
ประชาชนแตกต่างกันออกไป แต่นโยบายพรรคที่เป็นหลักครอบคลุมทั้งประเทศจะถูกใช้ในการหาเสียง
เลือกตั้งทั่วทุกเขตเลือกตั้ง โดยมีนโยบายเฉพาะที่เน้นในเขตเลือกตั้ง แต่ก็เป็นนโยบายที่ผ่านมาจาก